การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ

Main Article Content

สมศักดิ์ บุญปู่
พีรวัฒน์ ชัยสุข
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
บุญเชิด ชำนิศาสตร์
ณัชชา อมราภรณ์
วารี โศกเตี้ย
อรุณรัตน์ วิไลรัตนกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ 3) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ 4) เพื่อสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ 5) เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ 6) เพื่อบูรณาการพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการวิจัยคุณภาพ ทำการศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อ ควบคู่กับการวิจัยเชิงปฏิบัติการภาคสนาม (Action Research) มุ่งเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิจากชุมชน รวบรวมข้อมูลจากสัมภาษณ์กลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มตัวแทนชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน และครู จำนวน 50 รูป/คน สอบถามผู้บริหาร ครู และนักเรียน จำนวน 351 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาแนวทางการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา พบว่า มีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และนวัตกรรม 5 ด้านได้แก่ (1) การสอนและการเรียนรู้ (2) วัฒนธรรม (3) วิถีพอเพียง (4) การฝึกภาวนาวิถีพุทธ (5) การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และการดำเนินการพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาสามารถสรุปเป็น Model : 6744-Model 2) การพัฒนารูปแบบพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ได้รูปแบบกิจกรรมวิถีพุทธพอเพียงใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและวิถีเกษตรยั่งยืน รูปแบบกิจกรรมเดินด้วยเท้า ก้าวไปในบุญ และรูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธตามแผนงานกิจกรรม ใช้คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยใช้ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นฐานในการเรียนรู้ 3) การพัฒนาองค์ความรู้นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เป็นการรปลูกฝัง อบรม ฝึกฝนเยาวชน ตามวิธีการของพระพุทธศาสนา โดยเน้นบูรณาการตามหลักไตรสิกขา อันมี ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นฐาน เรียนรู้ผ่านการพัฒนา  "การกิน อยู่ ดู ฟังเป็น” มีปัญญารู้เข้าใจในคุณค่า และการปลูกฝัง การฝึกฝน ให้เยาวชนได้นำหลักธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะทำให้เยาวชนมีคุณธรรมนำความรู้ พัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพเป็นคนดี คนเก่งของสังคม ดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข 4) การสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้จากกิจกรรมการพัฒนาการทั้ง 4 ด้านคือ (1) เครือข่ายด้านสังคม ได้ฝึกฝนมารยาทไทย การอยู่รวมกัน การปฏิบัติตนต่อผู้อื่น (2) เครือข่ายด้านใจ การฝึกฝนจิตใจ ให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน สอนให้กตัญญูกตเวทต่อผู้มีพระคุณ
(3) เครือข่ายด้านสติปัญญา สอนให้รู้จักพิจารณาว่า อะไรคือสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและประโยชน์ต่อสังคมได้ (4) เครือข่ายด้านร่างกาย พัฒนากล้ามเนื้อด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ 5) การขับเคลื่อนเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ประกอบด้วย (1) ขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ (2) ขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ มีการจัดด้านกายภาพ ส่งเสริมการบริหารจิต เจริญปัญญา (3) การขับเคลื่อนด้วยกิจกรรม กิจกรรมวิถีพุทธพอเพียงใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและวิถีเกษตรยั่งยืน กิจกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธด้วยกระบวนการไตรสิกขา กิจกรรมเดินด้วยเท้าก้าวไปในบุญ กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธ (4) การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือมาผนวกรวมกับแนวทางการขับเคลื่อนนวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ 6) การบูรณาการพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เชื่อมโยงพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ โดยใช้หลักศรัทธากับปัญญาผ่าน 5 กิจกรรมทั้ง 6 โรงเรียนเพื่อให้เกิดการประพฤติปฏิบัติตนให้มีทักษะในการดำเนินชีวิต เก่ง ดี มีสุข และสามารถนำหลักธรรมคำสอนที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.

จิณห์นิภา ชูใจ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยเซนต์หลุยส์.

ธวัชชัย อินทรสุวรรณ์. (2555). ผลการจัดการเรียนรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกิจกรรมชุมชนพอเพียงภารกิจพิชิตฝันสำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

พระครูขันติวโรภาส (ขาว ขนฺติโก). (2559). รูปแบบการพัฒนาวัดในกรุงเทพมหานครให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวัฒนสุตานุกูล. (2557). กระบวนการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคณะสงฆ์ไทย. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพมหานคร: กรมการปกครอง.

พระราชบัญญัติ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก หน้า 102 (30 เม.ย. 2562).

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วันเพ็ง ระวิพันธ์ และคณะ. (2562). แนวทางการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครูตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 6(1). 116-128.

วีระพน ภานุรักษ์ และคณะ. (2559). รูปแบบการเผยแพร่แหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 10(ฉบับพิเศษ). 800-813.

สมชาย บุญสุ่น. (2561). การจัดการศึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาในโรงเรียนวิถีพุทธ. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2557). ประวัติหน่วยงาน. แหล่งที่มา https://www.ops.go.th/th/aboutus/history สืบค้นเมื่อ 21 ต.ค. 2560.

สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2558). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เสาวภา ไพทยวัฒน์ และคณะ. (2553). การเปลี่ยนแปลงในชีวิตของสังคมเมืองกับการสร้างรูปแบบศรัทธาการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย : กรณีศึกษา วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.