แนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ของครู กลุ่มโรงเรียนวังชลสินธุ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

สุภาพร กสิกร
เกษม แสงนนท์
ณัชชา อมราภรณ์
เผด็จ จงสกุลศิริ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 2) เพื่อศึกษาวิธีการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ของครู 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ของครูกลุ่มโรงเรียนวังชลสินธุ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี จากประชากรเป็นครู จำนวน 136 คน สถิติที่ใช้เป็นการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านโอกาสความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ด้านการปกครอง ด้านลักษณะของงานที่ทำ และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ตามลำดับ 2) วิธีการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ มีดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารขยันตรวจสอบให้การดูแลบุคลากรทางการศึกษาทุกคนอย่างสม่ำเสมอ ตลอดถึงการตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน คอยให้การช่วยเหลือครูที่มีความเดือดร้อนทุกคนด้วยความเป็นกันเอง อย่างมีความเป็นกัลยาณมิตรกับบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ด้านโอกาสความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูหมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองและรักษาตำแหน่งหน้าที่ของตนเอง ด้านการปกครอง ผู้บริหารมีความขยันปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้านลักษณะของงานที่ทำ ผู้บริหารมีการพิจารณาความเหมาะสมของงานกับความรู้ความสามารถของครูที่รับผิดชอบ และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ผู้บริหารมีการพิจารณาการเลื่อนเงินเดือนด้วยความโปร่งใส ให้รางวัลกับครูผู้ปฏิบัติงานดีเพื่อรักษาความดีความชอบของครูเป็นการสร้างแรงจูงใจ 3) แนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ทั้ง 6 ด้าน มีดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน มอบหมายให้ครูหมั่นตรวจสอบให้การดูแลบุคลากรทางการศึกษาทุกคนอย่างสม่ำเสมอ ตลอดถึงการดูแลอาคารสถานที่ แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอร่วมกันกับครูเพื่อรักษาผลประโยชน์และชื่อเสียงของโรงเรียนไว้เป็นอย่างดี ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ส่งเสริมให้ครูสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครูและบุคลากรทุกคนอย่างเป็นกัลยาณมิตรและให้ดำเนินชีวิตอย่างมีสติสัมปชัญญะ ด้านโอกาสความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ให้โอกาสครูที่มีความสามารถ ตั้งใจ ทุ่มเทการทำงาน และรักษาหน้าที่การงานที่ปฏิบัติให้ดีตลอดไปตลอดถึงการเลี้ยงชีวิตของครูอย่างชอบธรรม ด้านการปกครอง ส่งเสริมให้ครูมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาอย่างเต็มความสามารถ ด้านลักษณะของงานที่ทำ ส่งเสริมให้ครูขยันรักษาการปฏิบัติงานที่ตามงานที่รับมอบหมายและรักษาผลการปฏิบัติหน้าที่ของเองไม่ให้ขาดตกบกพร่องและความเป็นมิตรกับเพื่อนร่วมงานทุกคน และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ พิจารณาการเลื่อนเงินเดือนจากผลการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การประเมินเพื่อเลื่อนเงินเดือนด้วยความโปร่งใสเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบุคลากรและมีสวัสดิการช่วยเหลือยามฉุกเฉิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

ดารณี พานทองพาลสุข. (2538). ทฤษฎีการจูงใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

นุชลี โพธิวรากร. (2549). พฤติกรรมผู้นำความพึงพอใจในการทำงาน และขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานบริษัทหลักทรัพย์ย่านถนนราชดำริ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญเสริม รวมทรัพย์. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจของพนักงานธนาคารกสิกรไทย

สาขาในเขตจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา

ปรียาพร วงศอนุตรโรจน์. (2547). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรออฟเซท.

พระครูสังฆรักษ์สุพจน์ พฺรหมฺญาโณ (เสี่ยนดอน). (2558). ศึกษาการส่งเสริมขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระจิรายุทธ วิสุทฺธิสาโร (เทียนขาว). (2555). ศึกษาการส่งเสริมขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูระดับประถมศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พัชรี คงดี. (2556). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรรณภา กลับคง. (2552). ขวัญกำลังใจของครูในการปฏิบัติงานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัฒนา ศรีสม. (2542). แรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานส่งเสริมการขายสินค้าอุปโภคบริโภค ของบริษัทไบโอ คอนซูเมอร์ จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิไลพรรณ ทิศใหม่. (2552). ขวัญและกำลังใจของครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนและครูศูนย์การเรียนชุมชนสังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

สมพงศ์ เกษมสิน. (2523). การบริหารบุคคลแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานความก้าวหน้าการจัดการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2551–2552. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

เสนาะ ติเยาว์. (2535). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสนาะ ติเยาว์. (2542). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุทัย หิรัญโต. (2540). สังคมวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

Green, L. W. and M. W. Kreuter. (1991). Health Promotion Planning: An Educationnal and Environmen Approach. California: Mayfield.