แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะความพอเพียงตามหลักเบญจธรรมของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

ศิริลักษณ์ ไตรวงษ์
พระครูกิตติญาณวิสิฐ
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นคุณลักษณะความพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส 2) เพื่อเพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาคุณลักษณะความพอเพียงตามหลักเบญจธรรมของนักเรียนโรงเรียนขยาย และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะความพอเพียงตามหลักเบญจธรรมของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 201 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป/คน ด้วยการเลือกเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นคุณลักษณะความพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ที่มีความต้องการจำเป็นอันดับ 1 คือ ความมีเหตุผล รองลงมาคือ ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความพอประมาณ ความรู้ และคุณธรรม ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาการคุณลักษณะความพอเพียงตามหลักเบญจธรรมของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประกอบด้วย (1) ความพอประมาณด้วยการยึดหลักสติสัมปชัญญะคือฝึกตนมิให้ประมาทในการใช้ชีวิตรู้ปัจจุบัน ประมาณตน ปลูกฝังให้รู้จักเลือกใช้จ่ายแต่สิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน (2) ความมีเหตุผลด้วยการใช้หลักสติสัมปชัญญะคือฝึกตนมิให้ประมาท ผ่านการมีสติรอบคอบรู้สึกตัวอยู่ตลอด (3) ความมีภูมิคุ้มกันที่ดีด้วยการใช้หลักสติสัมปชัญญะคือการไม่ประมาทมีความรอบคอบ (4) ความรู้ด้วยการใช้หลักเบญจธรรมเป็นคุณธรรมอันดีงามที่อบรมและตกแต่งจิตใจให้งดงาม (5) คุณธรรมด้วยการใช้หลักเบญจธรรมเพื่อเสริมสร้างในพื้นฐานทั้งด้านจิตใจ การกระทำ และการปฎิบัติและประพฤติตนให้ดี และ
3) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะความพอเพียงตามหลักเบญจธรรมของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประกอบด้วย (1) ความพอประมาณ โรงเรียนส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และส่งเสริมการเรียนรู้ความพอประมาณในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตลอดถึงการเลี้ยงชีวิตอย่างสุจริต เพื่อสร้างคุณธรรม จริยธรรม และสร้างจิตสำนึกตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2) ความมีเหตุผล โรงเรียนพัฒนานักเรียนให้มีการจัดระบบความคิดของตนเอง ด้วยหลักการคิดวิเคราะห์และการเผชิญสถานการณ์ สร้างความเข้าใจในการดำเนินชีวิตการทำงาน (3) ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี โรงเรียนส่งเสริมการทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและให้ฝึกนักเรียนรู้คิด รู้ทำ ฝึกตนไม่ให้ประมาท มีสติรอบครอบและการวางแผนการใช้ชีวิต (4) ความรู้ โรงเรียนส่งเสริมการเรียนรู้และปลูกฝังนักเรียนให้มีความรู้เรื่องคุณลักษณะความพอเพียง ในการดำเนินชีวิตซึ่งสอดคล้องตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (5) คุณธรรม โรงเรียนส่งเสริมการจัดโครงการและกิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติตนที่ดีตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้กิจกรรมการเข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตตินันท์ ดีหลาย. (2561). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนไสวนันทวิทย์ จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกริก.

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. วารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. 4(3). 27–28.

ชุลีพร รัตนะเจริญธรรม. (2557). การศึกษาจริยธรรมนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฐิตินันท์ ปั่นมาก. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระกิตติสารเมธี (สมคิด เขมจารี). (2528). ขอธรรมเตือนจิตเพื่อชีวิตที่ดีงาม. กรุงเทพมหานคร: รุ้งแสงการพิมพ์.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2553). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์คำวัด. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2556). ปรัชญาการศึกษาของไทย ภาคพุทธธรรม:แกนนำการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธีรธรรม ธมฺมธีโร (บุญเสริม). (2559). รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมเบญจธรรมสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี). (2558). ศีล 5 รักษาโลก. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พระเมธีวราภรณ์ (สุทัศน์). (2551). เบญจศีลเบญจธรรม อุดมชีวิตของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ต้นบุญ.

พฤกษทล ชำนาญ. (2552). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนด้านความรับผิดชอบโรงเรียนคอนสารวิทยาคม อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วาริน จำรัส. (2555). รายงานผลการสังเคราะห์ผลการดำเนินงานการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์. รายงานวิจัย. ระยอง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1.

วิรัช นิภาวรรณ. (2550). การบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรมและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: โฟร์เพซ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550–2554). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุพลแก้ว หนองแสง. (2554). การพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงโรงเรียนบ้านโนนพุทรา อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (7 มี.ค. 2549). จิตวิทยากับคุณภาพชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง. มติชน. 7. 13.

สุรัตยา สาคมิตร. (2551). การพัฒนาการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เอกวิทย์ นันทศรี. (2565). การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักเบญจธรรมของนักเรียนโรงเรียนอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Caroline Koh. (2012). Moral development and student motivation in moral education: A Singapore study. Australian Journal of Education. 56(1). 83-101.