รูปแบบการบริหารและการนิเทศแบบสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0 ของโรงเรียนเทศบาลวัดตึกมหาชยาราม (สมุทรคุณากร) อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

จำเนียร จูเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการการใช้รูปแบบการบริหารและการนิเทศแบบสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารและการนิเทศสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารและการนิเทศแบบสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารและการนิเทศแบบสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0 รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการศึกษาข้อมูล พื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการบริหารและการนิเทศสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Design and Development : D&D) เป็นการพัฒนาหาประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารและการนิเทศแบบสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการนำรูปแบบการบริหารและการนิเทศสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0 ไปทดลองใช้ (Implementation : I) ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา(Development : D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) ประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการบริหารและการนิเทศแบบสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0 ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการการใช้รูปแบบการบริหารและการนิเทศแบบสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0 ของโรงเรียนเทศบาลวัดตึกมหาชยาราม (สมุทรคุณากร) พบว่า สภาพชุมชนโดยรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนเมือง อาชีพหลักของชุมชนคืออาชีพรับจ้างและอาชีพค้าขาย ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6  และประกาศนียบัตรวิชาชีพ อาชีพหลักคือรับจ้าง ค้าขาย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน โรงเรียนมีโอกาสที่เอื้อต่อการพัฒนาเนื่องจากเป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลที่เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาที่ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้น้อย ฐานะยากจนโดยได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจากคนในชุมชน ผู้นำทางศาสนาและหน่วยงานใกล้เคียงเพื่อช่วยเหลือนักเรียน นอกจากนี้โรงเรียนอยู่ใกล้วัดจึงได้รับการส่งเสริมจากวัดด้านแหล่งเรียนรู้ 2) รูปแบบการบริหารและการนิเทศแบบสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0 ของโรงเรียนเทศบาลวัดตึกมหาชยาราม (สมุทรคุณากร) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 82.14/89.07 3) หลังการใช้รูปแบบการบริหารและการนิเทศแบบสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0 โรงเรียนเทศบาลวัดตึกมหาชยาราม (สมุทรคุณากร) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารและการนิเทศแบบสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0 ของโรงเรียนเทศบาลวัดตึกมหาชยาราม (สมุทรคุณากร) ทั้ง 4 ด้านประกอบด้วย ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดรวบยอด และทักษะการเรียนรู้ยุค 4.0 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การประชุมปฏิบัติการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนบูรณาการในโรงเรียนขนาดเล็กตามจุดเน้น สพฐ. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). ครูไทย 4.0. แหล่งที่มา Http://www.moe.go.th สืบค้นเมื่อ 24 ม.ค. 2560.

กองบริหารและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. แหล่งที่มา www.libarts.up.ac.th สืบค้นเมื่อ 20 เม.ย. 2560.

กำพล วิลยาลัย. (2549). การศึกษาการดำเนินงานการนิเทศภายในโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559). อนาคตใหม่ของการศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0. แหล่งที่มา www.li.mahidol.ac.th สืบค้นเมื่อ 24 ม.ค. 2560.

เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีแวววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนิตว์สรณ์ ตรีวิทยาภูมิ. (2558). นิยามธุรกิจ: การบริหารทรัพยากรมนุษย์ TPI. แหล่งที่มา http://www.uptraining.co.th สืบค้นเมื่อ 28 ก.พ. 2558.

ดิเรก พรสีมา. (2559). ครูไทย 4.0. แหล่งที่มา http://www.moe.go.th สืบค้น 25 ม.ค. 2560.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). Education Reform & Entrance 4.0. แหล่งที่มา http://www.chiangmainews.co.th สืบค้น 25 ม.ค. 2560.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ประชุมวายุภักษ์โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันนเซ็นเตอร์แจ้ง.

นพพงษ์ บุญจิตรดุล. (2540). ก้าวเข้าสู่ผู้บริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

นิพนธ์ กินาวงศ์. (2543). หลักการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก: ตระกูลไทย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2532). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เจริญผลการพิมพ์.

ประเวศ วะสี, สันนต โรภิกขุ, พรชัย พัชรินทร์ตนะกุล, บัญชา ธนบุญสบัติ, สมเกียรติ ตั้งกิจวานิช, วิสุทธิ์ ใบไม้, อนุชาติ พวงสำลี, ศรีศักรวัลลิโภดม และประสาน ต่างใจ. (2547). ธรรมชาติของสรรพสิ่ง: การเข้าถึงความถึงทั้งหมด. กรุงเทพมหานคร: ร่วมด้วยช่วยกัน.

ปวีณา หมดราคี. (2547). ผลของการนิเทศแบบเพื่อนให้คำปรึกษาเพื่อนที่มีต่อความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียนอนุบาลเอกชน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พนัส หันนาคินทร์. (2523). หลักการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

พัชรี สร้อยสกุล. (2559). การพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก. ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). โรงเรียนผลิตภาพ: สัตตทัศน์เพื่อการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). เอกสารประกอบการบรรยาย การศึกษาไทย 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. แหล่งที่มา http://www.dpu.ac.th สืบค้นเมื่อ 7 เม.ย. 2560.

ไพโรจน์ บุญลักษณ์ศิริ. (2549). ความพึงพอใจของนักศึกษาแพทย์กับการเรียนกลุ่มย่อยแบบใช้ปัญหาเป็นหลักร่วมกับการใช้ทักษะการแพทย์เชิงประจักษ์. สงขลานครินทร์เวชสาร. 24(5). 389-393.

ไพศาล หวังพาณิช. (2523). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

ภิญโญ สาธร. (2519). หลักการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.

เมธี ปิลันนานนท์. (2525). การบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: เมธีทิปส์.

ยอดหทัย เทพธรานนท์. (2552). Mentor-mentee-mentoring. แหล่งที่มา http://meeting.trf.or.th สืบค้นเมื่อ 3 มี.ค. 2558.

รัตนาภรณ์ วามะสุรีย์. (2550). การศึกษาการจัดการนิเทศภายในโรงเรียนของโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งทิวา จักรกร. (2528). การบริหารโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรือง.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2531). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สุวิราสาส์น.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2531). หลักการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ศึกษาพร.

วชิรา เครือคำอ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณวรางค์ ทัพเสนีย. (2553). กระแสคน กระแสโลก (เปิดโลกความรู้พัฒนาทุนมนุษย์). แหล่งที่มา http://www.uptraining.co.th สืบค้นเมื่อ 5 มี.ค. 2558.

วิจารณ์ พานิช. (2554). การจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 2. แหล่งที่มา www.scbfoundation.com สืบค้นเมื่อ 14 พ.ค. 2556.

วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาพลับลิเคชั่น.

สมคิด บางโม. (2544). การบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏพระนคร.

สาวิตรี ลำดับศรี. (2558). ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรีกรมการพัฒนาชุมชน. แหล่งที่มา http://www.acn.ac.th สืบค้นเมื่อ 10 มี.ค. 2558.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2540). เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว0

สุรเชษฐเวชชพิทักษ์. (2555). รากฐานแห่งชีวิต วัฒนธรรมชนบทกับการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์.

สุรพล ธรรมร่มดี, ศนีย์ จันอินทร์ และคงกฤช ไตรยวงค์. (2553). อาศรมศิลป์วิจัย: การวิจัยและพัมนาชุมชนแห่งการเรียนรู้แนวจิตตปัญญา. นครปฐม: เอมี่เอ็นเตอร์ไพรส์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). สภาพการจัดการศึกาในจังหวัดชายแดนใต้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี.คอมมิวนีเคชั่น.

อนงค์ศิริ วิชาลัย. (2554). แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงใหม่: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2558). เทคนิคการนิเทศ : ระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษาเป็นวิทยากร. แหล่งที่มา Https://panchalee.wordpress สืบค้นเมื่อ 10 มี.ค. 2558.

อารมณ์ สนานภู่. (2539). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

อำนวยรุ่งรัศมี. (2525). การสอนวิทยาศาสตร์แบบก้าวหน้า. มหาสารคาม: ภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

Britton, Linda R., and Kenneth A Anderson. (2009). Peer coaching and pre-service teachers : Examination an underutilized concept. Teaching and eacher Education. 1-9. Doi: 10.1016/j.2009.03.008.

Zwart et al. (2008). Teacher learning through reciprocal peer coaching: An Analysis of activity sequences. Teaching and Teacher Educaion. 24. 982-1002.