การประเมินโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม ACTIVE LEARNING สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี

Main Article Content

ชัญญานุช มานะเสน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยการประเมินโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรม Active Learning ในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี 2) ศึกษาผลโครงการจัดกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี 3) ประเมินโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถม ศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี ใน 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต 4) ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ประเภทการวิจัยประเมินผล (Evaluation Research) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP โดยผู้ประเมินได้ดำเนินการเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรม Active Learning ในระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินโครงการการจัดกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี ขั้นตอนที่ 3 การประเมินโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี ใน 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ขั้นตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรม Active Learning ในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี ได้แก่ การเตรียมการก่อนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ ผลการดำเนินการจัดกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียน พบว่า สามารถแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูและนักเรียนได้ และได้ประโยชน์จากการจัดการดำเนินการจัดกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียน 2) ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี ใน 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่า ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี ของครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานีของครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านกระบวนการโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานีของครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานีของครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี พบว่า ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องของโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย. (2553). การเตรียมและการประเมินโครงการ. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร:กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 –2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

เขมวันต์ สุวรรณเทวะคุปต์. (2552). การประเมินโครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลบางโปรง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

คงศักดิ์ สังขมุรินทร์. (2551). การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน ในเขตตำบลลาดงา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชูชัย นิลสันเทียะ. (2554). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนปากช่อง 2. แหล่งที่มา http://kroobannok.com สืบค้นเมื่อ 5 ต.ค. 2554.

ทวีศักดิ์ อริยวัฒน์วงศ์. (2551). การประเมินโครงการพัฒนาวินัยนักเรียนโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธนพล สุประดิษฐ์พงศ์. (2554). การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน:กรณีศึกษาของ หมู่บ้านสันทรายต้นกอก ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2555). การประเมินโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียงปี 2550-2553. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 32(1). 53-71.

บำเพ็ญ ขวัญเพ็ชร. (2554). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก). แหล่งที่มา http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=85343&bcat_id=16 สืบค้นเมื่อ 11 ต.ค. 2554.

ประชุม รอดประเสริฐ. (2545). การบริหารโครงการ. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์

เยาวดีรางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2542). การประเมินโครงการ : แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย วงศ์ใหญ่. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 8(1). 62-74.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. 6(2). 1-13.

สมคิด พรมจุ้ย. (2542). เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมคิด พรมจุ้ย. (2550). เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2551). รายงานการประชุมทางวิชาการเรื่องทิศทางวัฒนธรรมกับการศึกษาในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2541). การประเมินผลโครงการ: หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง.

สุพักตร์ พิบูลย์. (2551). ชุดเสริมทักษาการประเมินโครงการ. นนทบุรี: จตุพรดีไซน์.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2552). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา. แหล่งที่มา http://panchalee.wordpress.com/2009/03/30/supervision. สืบค้นเมื่อ 11 ต.ค. 2554.

Kuh, G. D., Kinzie, J., Schuh, J. H., Whitt, E. J., & Associates. (2005). Student success in college: Creating conditions that matter. San Francisco: Jossey-Bass.

Gerlach, V.S. & Ely, D.P. (1971). Teaching and Media: A systematic approach. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.