วิธีการดำเนินการบริหารจัดการโรงเรียนเพื่อการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมของโรงเรียนเทศบาลวัดตึกมหาชยาราม (สมุทรคุณากร) อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยวิธีการดำเนินการบริหารจัดการโรงเรียนเพื่อการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมของโรงเรียนเทศบาลวัดตึกมหาชยาราม (สมุทรคุณากร) อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิธีการดำเนินการบริหารจัดการโรงเรียนเพื่อการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เพื่อพัฒนาสู่ความสำเร็จ 2) เพื่อศึกษาผลการบริหารจัดการโรงเรียนเพื่อการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เพื่อพัฒนาสู่ความสำเร็จ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการโรงเรียนเพื่อการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เพื่อพัฒนาสู่ความสำเร็จ เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ โดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) โดยมีขั้นตอนการวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินผลการบริหารจัดการ 2)แบบสรุปผลการบริหารจัดการ 3) แบบสำรวจความพึงพอใจ ของการบริหารจัดการโรงเรียนเพื่อการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เพื่อพัฒนาสู่ความสำเร็จ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านนักเรียน (S - Students) นักเรียนพิการหรือนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา และมีการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนทั่วไป 2) ด้านสิ่งแวดล้อม (E - Environment) โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนร่วม 3) ด้านกระบวนการเรียนการสอน (A - Activities) โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนปกติและนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้เรียนรู้ร่วมกัน 4) ด้านการบริหารและทรัพยากร หรือเครื่องมือ (T - Tools) โรงเรียนมีแผนการบริหารจัดการเรียนร่วม พัฒนาวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม จัดหาสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวก และจัดระบบโครงสร้างการบริหารงานอย่างชัดเจน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กรมสามัญศึกษา. (2551). สภาพการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิการในโรงเรียนปกติในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมสามัญศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
กลุ่มงานการศึกษาพิเศษ. (2551). คู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงสร้างซีทสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานการศึกษาพิเศษ.
กองการศึกษาเพื่อคนพิการ. (2542). การจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ทองคำ ชุ่มวิจารณ์. (2550). การบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
บุษย์รินทร์ อมฤตธํารงรัตน และนันทรัตน์ เจริญกุล. (2566).แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรูแบบนําตนเองของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตนนทบุรี 3. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 10(3). 191-192.
เบญจา ชลธาร์นนท์. (2546). คู่มือการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
พระมหาไกรสร อรุโณ (ตรงดี), พระครูกิตติญาณวิสิฐ และสมศักดิ์ บุญปู่. (2565). แนวทางการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนมัธยมศึกษา เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 9(2). 45-46.
วีระพจน์ ตันติปัญจพร. (2550). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมในจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรสาคร. (2550). คู่มือการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท. สมุทรสาคร: ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรสาคร.
ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรสาคร. (2550). เอกสารสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมในจังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรสาคร.
สดศรี สุทธการ. (2547). การดำเนินงานการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำแกนนำการศึกษาพิเศษ: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านสบกอน สำนักงานการประถมศึกษา อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สำนักงานการบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2547). คู่มือครูการกระจายสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อบริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2545). การสังเคราะห์งานด้านการจัดการเรียนร่วมสู่ภาคปฏิบัติเพื่อนำสู่นโยบายการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพสำหรับเด็กและเยาวชนพิการ. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สุกัญญา รัตนสังข์. (2547). การจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนโครงการการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สุวารินทร์ ถิ่นทวี. (2549). การประเมินโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.