แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2

Main Article Content

จตุพร บัวระภา
สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
สมศักดิ์ บุญปู่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน 2) วิธีการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 175 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) วิธีการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 เป็นการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ด้าน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งต่อนักเรียน โดยบูรณาการกับหลักพรหมวิหาร 4 (1) เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข (2) กรุณา ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ (3) มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี (4) อุเบกขา การรู้จักวางใจเป็นกลาง และ 3) แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลตามพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วยครูมีความรักความปรารถนาดี มีความตั้งใจจริงที่จะช่วยเหลือ (2) การคัดกรองนักเรียนตามพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วยครูให้อภัยและมองข้ามข้อเสียของนักเรียน ทำหน้าที่ดำเนินการคัดกรองโดยปราศจากอคติ (3) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียนตามพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วยครูส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการทั้งทางด้านกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา (4) การป้องกันและแก้ไขปัญหาตามพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วยการลดความเสี่ยงและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยเน้นให้นักเรียนมีทักษะชีวิตและความสามารถในการแก้ไขปัญหาของตนเองและยินดีเมื่อนักเรียนผ่านพ้นปัญหา (5) การส่งต่อนักเรียนตามพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วยพัฒนาคุณลักษณะให้ครูมีความเมตตา ตั้งใจทำระบบการส่งต่อนักเรียน มีใจเป็นกลางไม่ลำเอียง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนช่วงชั้นที่ 1- 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

บุญหนา ศรีลาดเลา. (2546). การพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนแดนดงพิทยาคม กิ่งอำเภอแดนดง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประชัน ธิมา และสมบัติ ศรีทองอินทร์. (2556). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2549). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.

มานพ บุญสมพงษ์. (2550). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

โยธิกา เลิศรัตยากุล, พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน และสมศักดิ์ บุญปู่. (2565). ศึกษาสภาพการส่งเสริมดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 3(1). 11.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุมาลี ทองงาม. (2555). การศึกษาการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดโคนอน สำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุลาลัย ทองดี และธีระพงษ์ สมเขาใหญ่. (2561). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 3(1). 48-50.

Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment : An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.