ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสื่อออนไลน์ ของวัดเขากูบอินทาราม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสื่อออนไลน์ของวัดเขากูบอินทาราม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสื่อออนไลน์ของวัดเขากูบอินทาราม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสื่อออนไลน์ของวัดเขากูบอินทาราม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนในตำบลอ่างหิน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี จำนวน 370 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสื่อออนไลน์ของวัดเขากูบอินทาราม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านความพึงพอใจต่อเสียง ด้านความพึงพอใจต่อภาพวิดีโอ ด้านความพึงพอใจต่อ ด้านความพึงพอใจต่อภาพเคลื่อนไหว และด้านความพึงพอใจต่อเนื้อความหรือตัวอักษร ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสื่อออนไลน์ของวัดเขากูบอินทาราม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อาชีพ และรายได้มีความคิดเห็นที่มีต่อความพึงพอใจต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสื่อออนไลน์ของวัดเขากูบอินทาราม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุ และการศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3) ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ ขาดการยกพุทธพจน์ตามหลักพระไตรปิฎก เนื้อหาส่วนใหญ่ยกหลักธรรมลึกซึ้งเกินไป ขาดงบประมาณในการสนับสนุนการเผยแผ่ ขาดสื่อภาพนิ่งที่น่าสนใจและทันสมัย ผู้เผยแผ่ไม่สามารถสื่อหลักธรรมที่เข้าใจง่ายให้เหมาะสม ขาดเทคนิคในการพูดสื่อสาร ขาดนักเผยแผ่ นักเทศน์ และนักจัดรายการที่มีชื่อเสียงและประสบการณ์ สื่อที่เผยแผ่ไม่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ไม่ผลิตสื่อเสียงที่เหมาะสมกับปัจจุบัน ขาดบุคลากรและจิตอาสาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาพวีดีโอเผยแผ่ และข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีเนื้อหาสาระที่ดีเหมาะสมกับผู้ฟัง มีคำคมคำกลอนเพื่อจูงใจผู้ฟัง มีถ้อยคำสุภาพไพเราะ อักขระชัดเจน มีบทสรุป มีงบประมาณในการเผยแผ่ พัฒนาสื่อด้านภาพนิ่งเกี่ยวกับนิทานธรรมะ พุทธสุภาษิต คำคมคำกลอน ใช้สื่อธรรมชาติสาธิตได้ แสดงธรรมะแบบเทศนาโวหาร ควรใช้สื่อทางเสียงบทเพลงธรรมะ พัฒนาสื่อเสียงเกี่ยวกับบทพระธรรมเทศนา อธิบายธรรมะแบบผสมผสาน การแหล่ เทศน์มหาชาติ พัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการตัดต่อภาพวีดีโอ จัดหาพระนักเผยแผ่ที่มีลีลามีอรรถรส
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี. (2550). การเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเบญจนิกาย.
พระครูสังฆรักษ์พิทย ญาณธโร. (2561). ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยยุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธงชัย สุนฺทราจาโร. (2561). แนวทางการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาชูชาติ จิรสุทฺโธ. (2564). การบูรณาการการสื่อสารเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเอก เมธิกญาโณ. (2563). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของพระนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.
พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2540). พุทธวิธีเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระวุฒิภัทร อาทโร. (2555). บทบาทของพระสงฆ์ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการปณิธิ อธิปุญฺโณ. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. (2545). คู่มืออบรมนักเทศน์. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
วนิช สุธารัตน์. (2547). ความคิดและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาส์น.
วัฒนา ภังคสังข์. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสถานีตำรวจภูธรหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.