การไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความในคดีอาญา

Main Article Content

จาตุรงค์ สรนุวัตร

บทคัดย่อ

การไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความในคดีอาญาเป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เป็นวิธีการระงับข้อพิพาทรูปแบบหนึ่งซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติเป็นกระบวนการโดยมีผู้ไกล่เกลี่ยเป็นคนกลางเข้าจัดกระบวนการ และช่วยเหลือแนะนำคู่กรณีในการเจรจาให้สามารถแก้ไขปัญหา และหาทางออกเป็นผลลัพธ์ที่พึงพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย โดยการไกล่เกลี่ยถือเป็นการระงับข้อพิพาททางเลือก มีหลักการเป็นเป้าหมายที่สำคัญคือ แก้ปัญหา ฟื้นฟูความสัมพันธ์ และเยียวยาความเสียหาย ซึ่งทำให้ได้ทางออกในการแก้ปัญหาที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายพึงพอใจ จึงเหมาะสมนำมาใช้กับคดีอาญาไม่ร้ายแรงที่สามารถเยียวยาความเสียหายแก่ผู้เสียหายและสร้างจิตสำนึกแก่ผู้กระทำความผิดได้ โดยพิจารณาตามอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้คดีที่เข้าสู่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสอดคล้องกับหลักการไกล่เกลี่ยในคดีอาญาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

โกเมศ ขวัญเมือง, พระครูธรรมธรสฐาพร ปภสฺสโร และพระครูปลัดอุดร ปริปุณฺโณ. (2564). การแบ่งประเภทของความผิดอาญา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 10(2). 404.

คณิต ณ นคร. (2551). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในคู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

เจิดจันทร์ แก้วอำไพ. (2558). ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลยุติธรรม.

ชลัท ประเทืองรัตนา. (2559). การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง เส้นทางแห่งการสร้างความเข้าใจร่วมกัน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์.

นันทวัน วงษ์สุภักดี. (2562). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวน: ศึกษา พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 2562. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

นิติธรวงศ์ยืน. (2548). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ด้วยวิธีการประชุมกลุ่มครอบครัว : หลักการสำคัญโดยย่อและข้อคิดเห็นบางประการ. วารสารยุติธรรมปริทัศน์. 1(9). 152-170.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562. เล่ม 136 ตอนที่ 67 ก. หน้า 21.

ศิริเพ็ญ จันทร์นิยม. (2562). แนวทางใหม่ของการจัดการความขัดแย้งในการระงับข้อพิพาทสัญญาทางปกครองศึกษาเฉพาะกรณี : การกำหนดให้นำวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยคนกลางไกล่เกลี่ยมาใช้ในสัญญาทางปกครอง. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 11(1). 303.

สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center: THAC). (2566). รวมข้อมูลการไกล่เกลี่ย ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง, หลังฟ้อง และขั้นตอนการไกล่เกลี่ย. แหล่งที่มา https://thac.or.th/th/know-the-mediation-process/ สืบค้นเมื่อ 5 ก.ค. 2566.

สำนักงานศาลยุติธรรม. (2560). คู่มือคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในคดีอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลยุติธรรม.

สำนักระงับข้อพิพาทสำนักงานศาลยุติธรรม. (2550). การจัดการความขัดแย้งกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2557). หลักการและแนวคิดในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ใน เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรทนายความผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายวิชาการสภาทนายความ.

สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2560). หลักการและแนวคิดในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ใน เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร ทนายความผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทรุ่นที่ 12. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายวิชาการสภาทนายความ.

อนันต์ จันทรโอภากร. (2558). ทางเลือกในการระงับข้อพิพาท. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.