แนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ตามหลักอริยสัจ 4 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดสระบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานตามแนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดสระบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดสระบุรี โดยจำแนกตามปัจจัย ส่วนบุคคล 3) เพื่อเสนอแนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ตามหลักอริยสัจ 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีขั้นตอนการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดสระบุรี ขั้นตอนที่ 2 การเสนอแนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ตามหลักอริยสัจ 4 สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการทดสอบสมมติฐานแนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ตามหลักอริยสัจ 4 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดสระบุรี พบว่า (1) ครูผู้สอนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน (2) ครูผู้สอนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 (3) ครูผู้สอนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน (4) ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ตามหลักอริยสัจ 4 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดสระบุรี ประกอบด้วย 5 แนวทาง คือ (1) การบริหารจัดการ (2) การพัฒนาคุณภาพครู (3) การพัฒนาคุณภาพนักเรียน (4) การนิเทศภายในและภายนอกที่มีประสิทธิภาพ (5) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ฐิติรัตน์ เพ็ชรอินทร์. (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการมองโลกทางวิชาการเชิงบวกในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นรชัย ณ วิเชียร และคณะ. (2562). อริยสัจ 4 กับการพัฒนาองค์การ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 13(1). 165-174.
ปนัดดา หัสปราบ. (2557). แนวทางการนำผลการทดสอบทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.
พรสวรรค์ รอดคล้าย. (2557). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาประจักษ์ กิตฺติเมธี (ทองดาษ). (2554). การบริหารงานวิชาการ สำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีดีเด่น กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสัมฤทธิ์ เตชปุญฺโญ (จำเนียร). (2553). ความคิดเห็นของครูในโรงเรียนต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 (กรุงเทพมหานคร). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสุทธิพงษ์ สุเมธโส (งอกลาภ). (2561). การบริหารสถานศึกษายุค 4.0 ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์. (2562). การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาด้วยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานตามหลักอริยสัจสี่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 42(1). 1-20.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี. (2566). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับประเทศ ระดับ สพฐ. และระดับ สพม.สระบุรี ปีการศึกษา 2565. แหล่งที่มา https://sssb.go.th/ สืบค้นเมื่อ 1 ก.ค. 2556.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.