แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยศึกษาลำพญา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมในฐานวิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยศึกษาลำพญา 2) เพื่อศึกษาวิธีการที่ใช้พัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยศึกษาลำพญา 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตใหม่ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยศึกษาลำพญา โดยใช้ ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 รูป/คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยเชิงปริมาณสอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครู จำนวน 92 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมในฐานวิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยศึกษาลำพญา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมในฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยศึกษาลำพญา มีวิธีการดังนี้ (1) ผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจบริบทของสถานศึกษา เป็นแบบอย่างให้ครู สร้างเจตคติที่ดีให้ครูเกิดความรู้สึกที่จะพัฒนาตนเอง และควรมีใจเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ให้กำลังใจชื่นชม ให้รางวัล ให้ความรักและความจริงใจกับบุคลากรอย่างทั่วถึง (2) ผู้บริหารต้องกระตุ้นให้ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ช่วยแก้ปัญหา สร้างขวัญและกำลังใจให้กับครู ไม่เกิดความอิจฉา พลอยยินดีกับความสำเร็จ (3) ผู้บริหารมีการวางแผนร่วมกับครูในการส่งเสริมให้บุคลากรฝึกกอบรมความรู้ในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ให้เชี่ยวชาญควร แสดงความรัก ความหวังดีและความห่วงใย อย่างจริงใจกับทุกคน (4) ควรเปิดโอกาศให้ครูมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและ ให้อิสระแก่ครูในการเสนอความคิดเห็น ผู้บริหารต้องมีทักษะหลายด้านและควรมีลักษณะเป็นคนมีเมตตา น่าเข้าหา ไม่ดุดัน และต้องควบคุมอารมณ์ตนเองได้ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตใหม่ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยศึกษาลำพญา ในด้านความเมตตาผู้ควรมีความรู้ความเข้าใจบริบทของครู ตั้งใจให้ความช่วยอย่างเต็มความสามารถ ให้กำลังใจ ชื่นชม ให้รางวัล ด้านความกรุณา ผู้บริหารสร้างเจตคติที่ดีให้ครูเกิดความรู้สึกเห็นคุณค่า มีความพอใจในการที่พัฒนาตนเอง ช่วยแก้ปัญหา สร้างขวัญและกำลังใจให้กับครู ด้านมุทิตา ผู้บริหารควรสร้างแรงจูงใจให้กำลังใจกับครูในการทำงานและชื่นชมยินดีเมื่อครูประสบความสำเร็จในการทำงาน ด้านอุเบกขา ผู้บริหารวางตัวเป็นกลางไม่เลือกปฏิบัติกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นพิเศษโดยยึดหลักความเท่าเทียมกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
จิดาภา เร่งมีศรีสุข. (2560). พุทธภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ชาลิกา ฮีมีนกูล. (2562). ภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ประเวศ วสี. (2546). การพัฒนาต้องเอาวัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กองทุนส่งเสริมงานทางวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงวัฒนธรรม.
ปาณิสรา ตรัสศรี. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปิชยาภาภรณ์ ทองบ่อ. (2562). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พระครูวิวัฒน์ธรรมานุกูล (อ๊อด ธมฺมปาโล) และคณะ. (2563). การพัฒนาคุณลักษณะพรหมวิหารธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 4(1). 27-37.
พระประกอบ ถิรจิตฺโต. (2558). การใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารงานของผู้บริหาร ตามความ คิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระปลัดชัยรัตน์ ปิยสีโล (เกตุสุวรรณ์). (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา. 7(1). 50-51.
พระเลอวุฒิ ภูริปญฺโญ (เนตรตะวงศ์ษา). (2555). ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร 4 ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สว่าง เปี้ยปลูก. (2549). ภาวะผู้นําเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนจังหวัดลําปางตามความ คิดเห็นของครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง.
สุขุมาลย์ ประยุกตินิวัฒน์. (2560). ภาวะผู้นําที่พึงประสงค์ในทัศนะของพนักงานฝายลูกค้าสัมพันธ์นครหลวง บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.