แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนในยุคปกติวิถีใหม่ตามหลักภาวนา 4 โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ธนพล สูงกลาง
พระครูกิตติญาณวิสิฐ
พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนในยุคปกติวิถีใหม่ โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาเรียนการสอนในยุคปกติวิถีใหม่ตามหลักภาวนา 4 โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการพัฒนาการเรียนการสอนในยุคปกติวิถีใหม่ตามหลักภาวนา 4 โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีคือการวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ราย ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาการวิจัยเชิงปริมาณใช้สอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1” จำนวน 86 ราย สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนยุคปกติวิถีใหม่ โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจะเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ รูปแบบ On-line เรียนผ่านอินเตอร์เน็ต รูปแบบ On-site เรียนที่โรงเรียน รูปแบบ On-demand การจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบ On-hand เรียนที่บ้านด้วยเอกสาร และลำดับสุดท้าย รูปแบบ On-air เรียนผ่านมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 2) ผลการศึกษาวิธีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนยุคปกติวิถีใหม่ โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีกระบวนการการจัดการเรียนการสอนในยุคปกติวิถีใหม่ จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิด กายภาวนา ผู้เรียนและครูผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ผสานรูปแบบการเรียนกันสอนรูปแบบออนไลน์ โดยเน้นจัดกิจกรรมแบบ Active Learning ปรับเนื้อหาการสอนให้กระชับ ตรงประเด็น เข้าใจง่าย ใช้เกมในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อเร้าความสนใจของผู้เรียนและยังช่วยลดความตึงเครียดในการเรียนออนไลน์ ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ มีวินัย เอาใจใส่ มีความเพียร และตรงต่อเวลา ออกแบบเนื้อหาแบบฝึกหัด แบบทดสอบ ให้กระชับ เข้าใจง่ายผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลได้ด้วยตนเอง ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้และมีเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนเพื่อเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและผู้เรียนซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านกายภาวนา ควบคู่กับการพัฒนาสติปัญญาของผู้เรียนในยุคปกติวิถีใหม่ 3) แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนในยุคปกติวิถีใหม่ตามหลักภาวนา 4 โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า การจัดการเรียนการสอนรูปแบบ On-site เรียนที่โรงเรียน ควบคู่กับการจัดการเรียนการสอน รูปแบบ On-line เรียนผ่านอินเตอร์เน็ต โดยใช้วิธีการสลับวันมาเรียน เลขที่คู่มาเรียนวันคู่ เลขที่คี่เรียนออนไลน์ที่บ้าน เลขที่คี่มาเรียนวันคี่เลขที่คู่เรียนออนไลน์ที่บ้าน นักเรียนที่มาเรียนรูปแบบ On-site สถานศึกษาต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งผู้เรียนและครูผู้สอนเป็นเป็นสำคัญ มีแนวปฏิบัติระหว่างการเปิดภาคเรียนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (Covid-19) ได้แก่ การคัดกรอง การสวมหน้ากาก การล้างมือ การเว้นระยะห่าง อย่างน้อย 1 - 2 เมตร รวมถึงการจัดเว้นระยะห่างของสถานที่ การทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของโต๊ะ เก้าอี้ วัสดุอุปกรณ์ เปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเท และลดการแออัด หรือหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม ส่วนนักเรียนที่ไม่ได้มาเรียนที่โรงเรียนสามารถเรียน รูปแบบ On-line เรียนผ่านอินเตอร์เน็ตที่บ้าน ครูผู้สอนจัดทำบทเรียนออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Racha1-online หรือทำสื่อการเรียนรู้ผ่านช่องทางอื่น ๆ ครูผู้สอนสามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านช่องทางดังกล่าว หากผู้เรียนไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ในการเรียน รูปแบบ On-line ผู้บริหาร ครูต้องจัดหาอุปกรณ์เพื่อใช้ในการเรียนการสอน หรือให้ผู้เรียนเรียนรูปแบบ On-hand เรียนที่บ้านด้วยเอกสาร ครูต้องกำกับ ติดตามให้คำแนะนำ ชี้แนะแนวทางแก่นักเรียนอยู่เสมอ ครูผู้สอนต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ปรับเนื้อหาการสอนให้กระชับ ตรงประเด็น เข้าใจได้ง่าย ให้ผู้เรียนได้สืบค้น และแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ใช้เกมในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อเร้าความสนใจของผู้เรียนและยังช่วยลดความตึงเครียดในการเรียนออนไลน์ ทั้งนี้ควรส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในการทดสอบแบบออนไลน์เพื่อป้องกันการทุจริต จะช่วยให้การจัดการเรียนการสอน รูปแบบ On-line มีประสิทธิภาพเหมาะกับยุคปกติวิถีใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา สุขมาก. (2535). หลักการสอบภาควิชาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพมหานคร: คุรุศาสตร์วิทยาลัยครูสวนสุนันทา สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์.

ทัศนีย์ ศุภเมธี. (2532). หลักการและการจัดการประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ทิศนา แขมมณี. (2546). รูปแบบการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี และปภัชญา สังชาตรี. (2564). 5 รูปแบบสำหรับการจัดการการสอนในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่. วารสารวิชาการรัตนบุศย์. 3(3). 66-73.

นพพงษ์ บุญจิตราดุล. (2534). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อนงค์ศิลป์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

ประเวศ วะสี. (2545). ภาวะผู้นำในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อุษาการพิมพ์.

ประเสริฐ ธรรมโวหาร. (2542). หลักสูตรและการจัดการมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรม. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2536). มงคล 38. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการวิปัสสนาธุระ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มารุต พัฒผล. (2561). การประเมินการเรียนรู้ใน New Normal. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: แอลทีเพรส.

วิชัย ดิสสระ. (2535). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วิชัย วงศ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2561). การออกแบบการเรียนรู้ใน New Normal. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนพานิช.

สุมิตร คุณานุกร. (2527). หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นิตยสยาม.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2527). หลักการบริหารการศึกษาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: อนงค์ศิลป์การพิมพ์.