แนวทางการบริหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักพุทธธรรม ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี คณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ของคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี คณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักพุทธธรรม ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี คณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและคณะครูภายในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม 165 รูป/คน ค่าสถิติวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสัมภาษณ์ผู้บริหารภายในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการบริหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักพุทธธรรม ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี คณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม พบว่า ด้านการวางแผนมีการประชุมประจำปีตามวาระทุกปีการศึกษาโดยเข้าประชุมร่วมกันได้ด้วยช่องทางออนไลน์ ด้านการลงมือปฏิบัติ มีการนำมตินั้นเป็นแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้เกิดเป็นผลลัพธ์ตามที่ผู้บริหารคาดหวัง ด้านการตรวจสอบการปฏิบัติงาน ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานปัญหาและอุปสรรคที่พบ ด้านการปรับปรุงแก้ไข ผู้บริหารและคณะครูได้ศึกษาในปัญหาและอุปสรรคจัดวางกลยุทธ์เพื่อที่จะต่อยอดสิ่งที่ดีและปรับปรุงสิ่งที่ต้องพัฒนาต่อไป และ 3) แนวทางการบริหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักพุทธธรรม ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี คณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม เป็นการบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักอปริหานิยธรรม 7 ในการบริหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วย (1) การวางแผน คณะครูและผู้บริหารต้องมีการวางแผนการดำเนินการตามวาระในทุกปีการศึกษา มีความเคารพและปฏิบัติตนตามระเบียบของที่ประชุม และมีการวางแผนงานโดยคำนึงถึงระเบียบหรือแบบแผนที่พระมหาเถระผู้บริหารวางไว้เป็นรูปแบบในอดีตเบื้องต้นก่อน จนเกิดเป็นมติอันเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีความเหมาะสมกับบริบท โปร่งใสและตรวจสอบได้ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริหาร คณะครูและนักเรียนตามความเหมาะสม (2) การลงมือปฏิบัติ คณะครูได้ปฏิบัติงานโดยนำมติของที่ประชุมมาลงมือปฏิบัติให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม (3) การตรวจสอบการปฏิบัติงาน คณะครูและผู้บริหารมีความเป็นกัลยาณมิตรต่อกันและกัน มีการรายงานแนวปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรคไปตามตรง รวมไปถึงการคอยรับฟังความคิดเห็นจากผู้เรียนเพื่อให้เกิดนำมาปรับปรุงและนำมารายงานในที่ประชุม (4) การปรับปรุงแก้ไข การที่คณะครูได้รับฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารและคณะครูท่านอื่นจากที่ประชุมแล้วก็ดำเนินการแก้ไขแผนการปฏิบัติงานไปตามนั้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. (2562). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle). วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 1. 44-45.
ทศพร น้อยสุขะและคณะ. (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการบริหารการศึกษา.วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์. 1(2). 130.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2539). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมเวที พร้อมคณะ. (2565). สหศึกษาบาลี สหสิกขามหาเจติยัง. กาญจนบุรี: สหายพัฒนาการพิมพ์.
พระมหากันตินันท์ เฮงสกุล. (2564). การบริหารการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5(3). 726-727.
พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 50. ก. หน้า 11. (16 เม.ย. 2562)
พัชราภรณ์ ดวงชื่น.(2565). การบริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(6). 28-29.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2577. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สุมน อมรวิวัฒน์ และคณะ. (2545). การพัฒนาการศึกษาด้วยกระบวนการ PDCA. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
THAIWARE. (2565). 5 ข้อดี-ข้อเสีย ของการทำงานจากที่บ้าน. แหล่งที่มา https://review.thaiware. com/2026.html สืบค้นเมื่อ 6 ก.ย. 2565.