แนวทางการบริหารงานวิชาการภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

ขัตติยาพล ไชยชนะ
เกษม แสงนนท์
สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาการบริหารงานวิชาการภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครู จำนวน 320 คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีเครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ทำการวิจัยข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐานคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านทั้ง 6 อยู่ในระดับมาก คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยี การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา และการนิเทศการศึกษา ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาการบริหารงานวิชาการภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารดำเนินการนิเทศโดยใช้โรงเรียนและโครงการเป็นฐาน และสรุปรายงานผลการนิเทศ ด้วยการศึกษาสถานการณ์โลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ปรับรูปแบบการนิเทศ พัฒนาระบบนิเทศด้วยการใช้ระบบพี่เลี้ยง แลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดระบบการนิเทศกับสถานศึกษาอื่น และสรุปรายงานผลการนิเทศ (2) ผู้บริหารให้ความเห็นหรือคำแนะนำครูผู้สอนตามหลักการนิเทศอย่างถูกต้องชัดเจน ด้วยการสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างบุคคล ให้เกียรติซึ่งกันและกัน เปิดโอกาสให้ผู้รับการนิเทศแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือปรึกษาและจัดทำสรุปรายงานการนิเทศการศึกษา และ 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักอริยสัจ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วยการศึกษาถึงสภาพปัญหาและความต้องการเพื่อจัดทำแผนการพัฒนาระบบนิเทศการศึกษา ศึกษาสถานการณ์โลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลงถึงสาเหตุที่ต้องมีการพัฒนาระบบการนิเทศ สร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างบุคคล เป็นกัลยาณมิตรและให้เกียรติระหว่างกัน มีการปรับรูปแบบในการนิเทศที่หลากหลาย และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนความคิดร่วมกันกับเครือข่ายการนิเทศ ประเมินผลและนำผลการนิเทศมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ สรุปและรายงานผลการนิเทศการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัตติกา สกุลสวน. (2565) รูปแบบการนิเทศแนวใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 9(1). 85-90.

ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระบุญลัท สุวรรณเดช. (2561). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

พิชญ์พิชา จันทา. (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุพา พรมแย้ม. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ราณี กุยรัมย์. (2553). ปัญหาและแนวทางการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

โรงเรียนคอนสวรรค์. (2564). คู่มือการปฏิบัติงาน กลุ่มบริหารงานวิชาการ ปีการศึกษา 2564. แหล่งที่มา https://www.kwsc.ac.th/ สืบค้นเมื่อ 8 ส.ค. 2565.

วราพร สินศิริ. (2564). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 7(3). 289 -297.

วีรภัทร ภักดีพงษ์. (2565). แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษายุคดิจิทัลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. วารสารวิจัยวิชาการ. 5(4). 246.

วีรยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2551). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศจีทิพย์ ตาลพันธ์. (2565). การนิเทศการศึกษา. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี. 5(2). 10.

สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์ใหม่. กรุงเทพมหานคร: เอส.พี.เอ็น. การพิมพ์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2544). หลักบูรณาการทางการศึกษาตามนัยแห่งพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.