การดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของประชาชนบ้านหนองบัวหิ่ง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

สาคร หาญแท้
พระครูวิสุทธานันทคุณ
พระมหากังวาล ธีรธมฺโม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสภาพการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของประชาชนบ้านหนองบัวหิ่ง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของประชาชนบ้านหนองบัวหิ่ง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของประชาชนบ้านหนองบัวหิ่ง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีภูมิลำเนาในชุมชนบ้านหนองบัวหิ่ง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี จำนวน 318 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของประชาชนบ้านหนองบัวหิ่ง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักประกันทรัพย์สิน ด้านหลักประกันสุขภาพ ด้านหลักประกันครอบครัว ด้านหลักประกันชีวิต และ ด้านหลักประกันสังคม ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของประชาชนบ้านหนองบัวหิ่ง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุรายได้ มีการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของประชาชนบ้านหนองบัวหิ่ง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ การศึกษา อาชีพ มีการดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 ของประชาชนบ้านหนองบัวหิ่ง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการฆ่าสัตว์ ในเรื่องของการทำมาหากิน บางคนเลี้ยงหมูฆ่าหมู หาปลา แต่ก็เป็นการทำเพื่อนำไปเป็นอาหาร การเบียดเบียนสัตว์เนื่องจากประเพณีนิยม เช่น ชนไก่ วัวลาน จนนำไปสู่การส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ปัญหาของครอบครัวที่เกิดจากการขาดความเอาใจใส่ ไม่เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากทำให้ครอบครัวของตนเองและผู้อื่นแตกแยก การขาดความยับยั้งชั่งใจ ที่สำคัญคือ ไม่คิดถึงผลเสียที่จะตามมา ส่วนใหญ่จะเป็นคนในช่วงอายุน้อย วัยเรียนแต่ไม่เรียน ปัญหายาเสพติดในเยาวชนยังเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลเสียแก่ชุมชนเป็นอย่างมาก เป็นบ่อเกิดของปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะอาชญากรรมต่างๆ และข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรส่งเสริมให้คนในชุมชน ดำเนินชีวิตตามหลักศีล 5 โดยการสร้างความร่วมมือกันเป็นเครือข่าย สร้างกิจกรรมโครงการต่างๆ ให้กับชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ชุมชนเอง วัด และโรงเรียน เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ในข้อปฏิบัติตามหลักศีล 5 เช่น ส่งเสริมหลักเมตตากรุณาต่อสมาชิกในชุมชน งดเว้นการทำร้ายสิ่งมีชีวิต ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน เช่น กิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่นในด้านต่างๆ วัดเป็นผู้นำด้านการจัดกิจกรรมทางศาสนา จัดกิจจกรรมปฏิบัติธรรม ในช่วงวันพระ หรือวันหยุดสำคัญ เช่น ช่วงวันพ่อ วันแม่ วันวิสาขบูชา เพื่อเป็นโอกาสให้คนในชุมชนเข้ามาศึกษาและทำความเข้าใจในศีล อาจจะมีการเน้นกิจกรรมในการฟังเทศน์ ควรจะมีการบรรยายอธิบายหลักการประพฤติปฏิบัติในหลักประกันชีวิตให้โยมเข้าใจได้ง่ายขยายความให้เห็นในเชิงรูปธรรมมากขึ้น ควรเน้นการสร้างความเข้าใจในการดำเนินชีวิตที่พอเพียง ให้กับคนในชุมชนให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความรัก ความพอใจในของๆ ตน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). พระไตรปิฎกศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จำลอง ดิษยวณิช. (2554). จิตวิทยาของความดับทุกข์. เชียงใหม่: กลางเวียงการพิมพ์.

บุณณภัทร์ เดือนกลาง. (2552). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2553). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระอำนาจ ปริมุตฺโต. (2553). ศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการรักษาเบญจศีลของพุทธศาสนิกชนในชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พวงเพชร ทองหมื่นไวย. (2559). ศีลในฐานะเป็นพื้นฐานของมนุษย์. วารสารธรรมทรรศน์. 16(2). 191-200.

พูลศักดิ์ หอมสมบัติ. (2559). ครอบครัวรักษาศีล 5 : รูปแบบและการเสริมสร้างวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของครอบครัวในจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รังสรรค์ แสงสุข และคณะ. (2554). ความรู้คู่คุณธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิไลพร อุ่นเจ้าบ้าน. (2554). ศึกษาพฤติกรรมการนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวันของผู้บริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุพัตรา สุภาพ. (2549). ปัญหาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

อธิษฐาน พูลศิลป์ศักดิ์กุล. (2552). การรักษาศีลห้าของพุทธศาสนิกชนวัยแรงงาน: กรณีศึกษาเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.