ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษา ของโรงเรียนบ้านนาคอก มิตรภาพที่ 104
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านนาคอก มิตรภาพที่ 104 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านนาคอก มิตรภาพที่ 104 โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านนาคอก มิตรภาพที่ 104 มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคอก มิตรภาพที่ 104 จำนวน 110 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านนาคอก มิตรภาพที่ 104 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 6 ด้าน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หลักสูตรและการสอน กิจการนักเรียน การบริหารงานบุคคล อาคารสถานที่ และธุรการ ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านนาคอก มิตรภาพที่ 104 โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และรายได้ มีความคิดเห็นที่มีต่อความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านนาคอก มิตรภาพที่ 104 ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล คือ อาชีพ มีความคิดเห็นที่มีต่อความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านนาคอก มิตรภาพที่ 104 แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3) ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ 1) ไม่มีหลักสูตรที่ทำขึ้นเฉพาะโรงเรียนที่เน้นผู้เรียน ขาดการพัฒนาหลักสูตรที่พัฒนานักเรียนในชุมชน ไม่มีการสอนเสริมวิชาที่สำคัญ 2) ไม่มีกระบวนการสรรหาครูที่มีคุณภาพ ขาดความเป็นธรรมในการเลื่อนตำแหน่ง ขาดครูที่มีความเชี่ยวชาญวิชาเฉพาะด้าน 3) ขาดกิจกรรมที่พัฒนาทักษะการใช้ชีวิตและพัฒนากายสังคมจิตปัญญา 4) ไม่มีการจัดการด้านการเงินอย่างถูกต้องโปร่งใส ขาดความทันสมัยในการจัดเก็บ ขาดระบบการควบคุมวัสดุและครุภัณฑ์ที่สะดวกสะบาย 5) อาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ไม่ทำให้ให้เกิดสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ ขาดระบบป้องกันความปลอดภัย ไม่มีอาคารสถานที่เพียงพอและเหมาะสม 6) ขาดความร่วมมือของชุมชนในการวางแผนการกับโรงเรียน ไม่มีกิจกรรมจิตอาสาของนักเรียนและชุมชนที่ทำประโยชน์ให้สังคมและท้องถิ่น ขาดการประชาสัมพันธ์สื่อสารกิจกรรมของโรงเรียน ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) ควรพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ ควรจัดหลักสูตรการเรียนรู้คู่ไปกับทักษะการใช้ชีวิตและหลักสูตรท้องถิ่น 2) ควรสรรหาบุคลากรให้ตรงกับวิชาที่ขาดและสรรหาครูที่มาจากชุมชน ควรพัฒนาทักษะครูและสร้างแรงจูงใจ ควรรักษาครูที่มีอยู่และลดภาระงานของครู 3) ควรส่งเสริมกิจกรรมที่พัฒนานักเรียนมีทักษะการเอาชีวิตในยุคปัจจุบัน ควรส่งเสริมกิจกรรมที่พัฒนานักเรียนมีทักษะแก้ไขปัญหาชีวิต สังคม และจิตใจ 4) ควรจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะการใช้งานธุรการ ควรทำระบบหลักฐานรายรับรายจ่ายให้โปร่งใสและตรวจสอบได้ 5) ควรพัฒนาอาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามความต้องการนักเรียนและชุมชน ควรมีการวางแผนพัฒนาอาคารพื้นที่ภายในโรงเรียน 6) ควรประชาสัมพันธ์กิจกรรมในโรงเรียนแก่ผู้ปกครองและชุมชน ควรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมวางแผนการจัดกิจกรรม ควรจัดกิจกรรมที่ไม่ส่งผลต่อการทำงานและชีวิตประจำวันของผู้ปกครอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ชวาลา กันทอง. (2548). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบุญจิตวิทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประภาศรี สีหอำไพ. (2535). พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัญญา สามัญ. (2555). ศึกษาการบริหารงานธุรการในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระประดิษฐ์ สุทฺธิญาโณ (วิเศษวงษา). (2553). ความพึงพอใจของผู้ ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอัมพวันศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการปณิธิ อธิปุญฺโญ. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สพายซอง ศรีเคน. (2558). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมศักดิ์ คงเที่ยง และคณะ. (2553). การบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สรพล ใจแสวงทรัพย์. (2548). การตัดสินใจของผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนวราวัฒน์วิทยา กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุรชาติ อินแผลง. (2550) การศึกษาสภาพการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านติ้วน้อย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวิชัย อินทกุล และพระครูอุปกิตปริยัติโสภณ. (2563). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์อุทัยธานี. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์อุทัยธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2565-2567. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือการสรรหาและการเลือกคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
โรงเรียนบ้านนาคอก มิตรภาพที่ 104. (2565). ประวัติความเป็นมาโรงเรียนบ้านนาคอก มิตรภาพที่ 104. แหล่งที่มา http://bannakokschool.sci.dusit.ac.th/ สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค. 2565.