แนวทางการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังด้านการศึกษาทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ศิวเรศ สุภู่อ่อน
ธาตรี มหันตรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังด้านการศึกษา และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังด้านการศึกษาทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ต้องขัง จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเชิงปริมาณ ได้ค่าความเชื่อมั่นปัจจัยภายในเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังด้านการศึกษา ประกอบด้วยด้านปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกทัณฑสถานฯ ด้านปัจจัยภายใน ได้แก่ระยะเวลาต้องโทษมีผลต่อการตัดสินใจในการไม่เข้ารับการศึกษา หลักสูตรที่เปิดสอนไม่ตรงตามความต้องการ อาคาร สถานที่สำหรับจัดการศึกษาไม่เหมาะสมคนกลุ่มใหญ่ไม่เข้ารับการศึกษาจึงทำให้เข้ารับการศึกษาตามคนกลุ่มใหญ่ สำหรับด้านปัจจัยภายนอก ได้แก่ เชื่อว่าสถานประกอบการไม่รับผู้เคยมีประวัติต้องโทษเข้าทำงานแม้จะมีวุฒิการศึกษา สังคมภายนอกมองผู้พ้นโทษเป็นคนไม่ดีไม่สามารถกลับตัวเป็นคนดีได้ หลังพ้นโทษไม่มีช่องทางการประกอบอาชีพ ขาดการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการศึกษาขณะต้องโทษแก่สังคมภายนอกจึงทำให้ไม่เข้ารับการศึกษาขณะต้องโทษ 2) แนวทางการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังด้านการศึกษา ประกอบด้วย ควรมีการประสานไปยังหน่วยงานภายนอกเพื่อเพิ่มช่องทางการประกอบอาชีพ มีการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจกับสังคมภายนอกมากยิ่งขึ้น เปิดสอนในหลักสูตรที่ตรงตามความต้องการของผู้ต้องขัง ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการศึกษาขณะต้องโทษให้สังคมภายนอกได้รับรู้มากยิ่งขึ้น ประสานงานกับสถานประกอบการเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ต้องขังถึงเกณฑ์ต่างๆ ในการรับเข้าทำงาน มีการอบรมให้ความรู้ผู้ต้องขังอย่างทั่วถึงในเรื่องความสำคัญของการศึกษา ปรับปรุงอาคารสถานที่สำหรับจัดการศึกษาให้มีความเหมาะสมมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอต่อการศึกษา การจัดการศึกษาต้องคำนึงถึงกำหนดโทษของผู้ต้องขังที่มีระยะเวลาแตกต่างกันตามลักษณะคดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2565). คู่มือการจัดโปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังตากลักษณะแห่งคดีและพฤติการณ์กระทำความผิด. แหล่งที่มา www.correct.go.th. สืบค้นเมื่อ 2 ส.ค. 2565.

กรมราชทัณฑ์. (2565). สารานุกรมการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง. แหล่งที่มา www.correct.go.th. สืบค้นเมื่อ 2 ส.ค. 2565.

กานต์สินี องอาจ. (2564). การมีส่วนร่วมของศูนย์ยุตธิรรมชุมชนในการสร้างโอกาสฟื้นฟูผู้พ้นโทษกลับคืนสสู่ังคม. ภาคนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ชัชชัย นาลี, สัญญา เคนาภูมิ และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2562). การจัดการศึกษาแก่ผู้ต้องขังภายในเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา. (2565). ฝ่ายทัณฑปฏิบัติ. แหล่งที่มา http://www.correct.go.th>ydcayut. สืบค้นเมื่อ 5 ธ.ค. 2565.

เทพพิทักษ์ ดีแป้น, ภัทราภร เกษสังข์ และนฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์. (2564). การประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษา สำหรับผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา.

นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล. (2549). การปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรชัย ขันตี. (2553). ทฤษฎีอาชญาวิทยา: หลักการงานวิจัยและนโยบายประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: สุเนตร์ฟิล์ม.

วีระศักดิ์ สัจจะปกาสิต. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมากระทำผิดซ้ำในความผิดฐาน พ.ร.บ.ยาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางเพชรบุรี. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน. 3(3). 147-157.

สุจรรย์จิรา มหาชนะวงศ์. (2555). การนำมาตรการแก้ไขฟื้นฟูพฤตินิสัยผู้ต้องขังไปปฏิบัติของเรือนจำจังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สุชาติ สมณะ .(2560). ปมของผู้ต้องขังที่มีต่อภารกิจคืนคนดีสู่สังคม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุธัญญา กฤตาคม. (2564). กรอบแนวคิดการศึกษาการประชาสัมพันธ์เบื้องต้น. Modern Learning. Development. 6(5). 261-273.

อนุชา ร่มพะยอม. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เอก ศิริโชคธรรมกุล. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนํานโยบาย 5 ก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนเแปลงราชทัณฑ์ไปปฏิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำและทัณฑสถานเขต 10 กรมราชทัณฑ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.