ศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียน 363 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร ใช้แบบสัมภาษณ์ ในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความคิดรวบยอด และด้านเทคนิควิธี 2) ผลการเปรียบเทียบศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สังกัดโรงเรียน และอาชีพผู้ปกครอง มีความคิดเห็นที่มีต่อศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล คือ รายได้ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นที่มีต่อศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ พระสอนศีลธรรมขาดเทคนิคการสอนผู้เรียน สอนแบบท่องจำและสอนแบบบรรยายมากเกินไป ขาดโต้ตอบตั้งข้อคำถามกับผู้เรียน ไม่มีการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ขาดการประเมินการสอนและการเรียนรู้ ขาดวิธีสอนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการใช้ความคิดมากกว่าจดจำ ขาดวิธีสอนในการประยุกต์หลักธรรมที่ส่งเสริมการความคิดรวบยอด ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรพัฒนาพระสอนศีลธรรมเกี่ยวกับเทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลการสอน การนิเทศการสอน การสอนเพื่อแก้ปัญหา ทักษะการคิดเป็น และการนำหลักธรรมไปประยุกต์ในการสอน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2542). คู่มือการจัดค่ายคุณธรรมเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2540). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
บุญหนา จิมานัง และคณะ. (2551). การประเมินประสิทธิภาพการสอนของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา เขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 9. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.
พระครูใบฎีกาอภิชาติ ธมฺมสุทฺโธ. (2553). ประสิทธิภาพการบริหารงานของเจ้าอาวาสในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูปลัดอุดม โอภาโส. (2554). ประสิทธิภาพการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนเขตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูภาวนารัตนาภรณ์ (กำพล สิริภทฺโท). (2555). การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมของพระสังฆาธิการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวินัยธรวัลลพ โกวิโล และคณะ. (2555). รายงานผลการประเมินโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. นนทบุรี: เชนปริ้นติ้ง.
พระครูสมุห์บุญเลิศ ชยวํโส. (2553). สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต และคณะ. (2552) ผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 9. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต. (2541). ทางสายอิสรภาพของการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระมหาสมชาย ธมฺมวโร, (2552). การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนและครูประจำการในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2558). สารจากอธิการบดี : ยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยสงฆ์. แหล่งที่มา http://www. mcu.ac.th สืบค้นเมื่อ 21 ม.ค. 2558.
สำนักงานโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. (2556). สรุปงานมหกรรมส่งเสริมศีลธรรมและประกวดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านพระพุทธศาสนา. นนทบุรี: เชนปริ้นติ้ง.
Katz R.L. (1995). Skills of an Effective Administrator. Harvard Business Review. 33. 33-42.