แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตระดับปริญญาตรีในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตระดับปริญญาตรีในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี 382 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านตัวผู้สอน ด้านวิธีการจัดการการเรียนรู้ ด้านบทเรียน ด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ และด้านตัวผู้เรียน ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ ผู้เรียนเป็นคนบริหารจัดการด้วยตัวเอง จัดทำสมุดบันทึกส่วนตัวเพื่อใช้บันทึกข้อมูล กำหนดโครงการเรียนรู้รายบุคคล กำหนดวิธีการรายงาน/บันทึกการสะท้อนการเรียนรู้ของตนเอง จัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในมหาวิทยาลัยให้เหมาะสม 3) แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตระดับปริญญาตรีในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คือ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งมั่น ตั้งใจจริง มีวินัย ควบคุมบริหารจัดการด้วยตัวเอง กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ แสวงหาแหล่งความรู้ มีวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และผู้สอนที่เป็นกัลยาณมิตรช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมอัตลักษณ์บัณฑิตมหาวิทยาลัย ศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาเป็นศาสนทายาทที่ดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
นพมาศ ปลัดกอง. (2562). การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนในระบบการศึกษาทางไกล โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคนั่งร้านเสริมเรียนรู้. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วีรพล แก้วพันธ์อ่ำ. (2564). การศึกษาความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองในแต่ละช่วงอายุของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนสระแก้วผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(1). 98-112.
วีระพน ภานุรักษ์ และคณะ. (2559). รูปแบบการเผยแพร่แหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 10(ฉบับพิเศษ). 800-813.
ส่วนทะเบียนนิสิต สำนักทะเบียนและวัดผล. (2564). สถิตินิสิต คณะครุศาสตร์ ปีการศึกษา 2564. แหล่งที่มา https://reg.mcu.ac.th/?page_id=97 สืบค้นเมื่อ 22 มิ.ย. 2565.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2563). การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล. แหล่งที่มา https://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/life-long-learning/3678/ สืบค้นเมื่อ 22 มิ.ย. 2565.
อติพร เกิดเรือง. (2560). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 6(1). 173-184.
Tongtip. (2565). แนวคิดการบริหารการศึกษาตามหลักไตรสิกขากับแนวคิดตาม ทฤษฎีเชิงระบบ เป็นความสอดคล้องกันที่ลงตัว. แหล่งที่มา https://www.oknation.net/ศาสนา/tongtip/ 634f41a1d6f211cd8c425dfc สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2564.