การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการตามหลักอริยสัจ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้จะนำเสนอการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการตามหลักอริยสัจ 4 ซึ่งการพัฒนาหลักสูตรเป็นแผนโครงการที่กำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลไว้ล่วงหน้าอย่างมีแบบแผนเพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้บริหารในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาในทุกด้าน โดยการนำการพัฒนาหลักสูตรมาบูรณาการกับหลักอริยสัจ 4 อันหลักพุทธธรรมอันเป็นความจริงอย่างประเสริฐ 4 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นทุกข์ การกำหนดปัญหา เป็นการกำหนดให้รู้จักสภาพปัญหาในการพัฒนาหลักสูตรที่ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาจึงไม่ควรประมาทและต้องพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหา ขั้นที่ 2 ขั้นสมุทัย การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา เป็นการกำหนดเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาหลักสูตรซึ่งมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไปเพื่อการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปแผนที่กำหนดไว้ ขั้นที่ 3 ขั้นนิโรธ การกำหนดเป้าหมาย เป็นการดับปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาหลักสูตรอย่างมีจุดหมายที่ต้องการบรรลุผลให้เกิดขึ้นได้และเป็นการบรรลุถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาหลักสูตร และขั้นที่ 4 ขั้นมรรค กำหนดวิธีการแก้ปัญหา เป็นการกำหนดวิธีการปฏิบัติและการแสวงหาการแก้ไขปัญหาการพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษาเพื่อกำจัดปัญหาอุปสรรคให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาหลักสูตร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). 8 นโยบายการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชูศรี สุวรรณโชติ. (2544). หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: อักษรไทย.
ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร การออกแบบและพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ คำวัด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.
รุ่ง แก้วแดง. (2541). ปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
วิจิตร ศรีสะอ้าน. (2550). เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง โรงเรียนนิติบุคคล: มิติใหม่ของการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ และชาย สัญญาวิวัฒน์. (2550). การบริหารจัดการแนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2544). หลักบูรณาการทางการศึกษาตามนัยแห่งพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อมรา เล็กเริงศิลป์. (2540). หลักสูตรและการจัดการมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
อุทัย บุญประเสริฐ และจิราภรณ์ จันทร์สุพัฒน์. (2540). หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2538). การวางแผนการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.