ภาวะผู้นำเชิงระบบตามหลักปาปณิกธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในยุค VUCA WORLD

Main Article Content

กรัณฑรัตน์ จำเนียรพันธุ์
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
เผด็จ จงสกุลศิริ

บทคัดย่อ

บทความนี้จะนำเสนอภาวะผู้นำเชิงระบบตามหลักปาปณิกธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในยุค VUCA World อันเป็นการจัดการศึกษาในโลกยุคผันผวนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ เทคโนโลยี การแข่งขัน ภาวะผู้นำทางการศึกษาจึงมีความสำคัญยิ่งต่อความอยู่รอดในการจัดการศึกษาและเตรียมพร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงที่มีอย่างต่อเนื่อง อันส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะของความเป็นพลเมืองแห่งวิถีศตวรรษที่ 21 ผู้นำทางการศึกษาจึงคุณลักษณะของภาวะผู้นำเชิงระบบที่ประกอบด้วย การมีวิสัยทัศน์ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ความมุ่งมั่นในการทำงาน และความรับผิดชอบ อันเป็นลักษณะที่เป็นระบบซึ่งจะทำให้มองภาวะผู้นำที่กว้างและลึกเพียงพอ จึงจะสามารถพัฒนาสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยนำมาบูรณาการกับหลักปาปณิกธรรมทางพระพุทธศาสนาในการบริหารสถานศึกษา อันได้แก่ 1) จักขุมา มีตาดี มีวิสัยทัศน์ กว้างยาวไกล การมีตาดี 2) วิธูโร มีทักษะในการทำงานที่ดีของผู้นำ ประกอบกับการมีความรู้อย่างละเอียดในงาน และ 3) นิสสยสัมปันโน การมีทักษะการสื่อสารมนุษยสัมพันธ์ดี ทำงานได้กับคนทุกระดับชั้นผูกมัดใจคนไว้ได้ เพื่อนำองค์กรสถานศึกษาในการก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์ที่หมุนไปในยุค VUCA World

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เจริญ ภู่วิจิตร์. (2565). ภาวะผู้นำทางการศึกษาโลกยุคผันผวน. แหล่งที่มา http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20220906-1.pdf สืบค้นเมื่อ 12 ก.พ. 2566.

เนตรนภิส นพเกตุ. (2562). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงระบบของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรชัย อินทร์ฉาย. (2565). สมรรถนะสำคัญของครูในยุค VUCA. แหล่งที่มา https://www.ipst.ac.th/news/32885/20220914-vuca-smt.html สืบค้นเมื่อ 12 ก.พ. 2566.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2552). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต). (2541). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2561). ผู้นำองค์กรในโลก VUCA. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 24(3). 450-458.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมชาย เทพแสง. (2556). ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้: รูปแบบภาวะผู้นำสมัยใหม่. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. 10(2). 2-3.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ โดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2549). เรียนจากแชมป์เพื่อเป็นแชมป์ สำหรับองค์การทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จิรวัฒน์เอ็กเพรส.

Collier, J., & Esteban, R. (2000). Systemic leadership: Ethical and effective. The Leadership & Organization Development Journal. 21(4). 207-215.

Hill, R. (2006). Leadership that Lasts: Sustainable School Leadership in the 21st Century. London: ASCL.

Hopkins, David. & Hingham, Rob. (2007). System Leadership: Mapping the landscape Institute of Education, University of London, England System School. Leadership and Management. 27(2). 145-152.

HR NOTE.asia. (2566). VUCA ในโลกการทำงานสมัยใหม่: 4 เทคนิครับมือความไม่แน่นอนสำหรับผู้นำยุคใหม่. แหล่งที่มา https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/vuca-for-leader-in-future-work-03032021/ สืบค้นเมื่อ 12 ก.พ. 2566.

iok2u.com. (2566). โลกยุควูก้า (VUCA World) โลกยุคที่มีความผันผวน. แหล่งที่มา https://www.iok2u.com/article/innovation/vuca-world สืบค้นเมื่อ 12 ก.พ. 2566.

James, C., Connolly, M., Dunning, G., & Elliott, T. (2007). Systemic leadership for schools and the significance of systemic authorization. Educational Management Administration & Leadership. 35(4). 573-588.

Katz, D. & Kahn, R. L. (1996). The Social Psychology of Organizations. New York: Wiley.

O'Leary, R., & Blomgren, B. L. (2009). The collaborative public manager. Washington D.C.: Georgetown University Press.