การพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อการจัดการเรียนรู้

Main Article Content

พระมหาวีรวิชญ์ สัตตารัมย์
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
สมศักดิ์ บุญปู่

บทคัดย่อ

นวัตกรรม ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์กร เพราะจะสร้างความได้เปรียบในการพัฒนาองค์กรให้มีความสำเร็จตามพันธกิจและเป้าประสงค์ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะนวัตกรรมการศึกษานั้นถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาถือเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาคน พัฒนาสังคม พัฒนาชาติให้มีความเจริญซึ่งนวัตกรรมนั้นอาจจะหมายถึงสิ่งที่สร้างขึ้นมาใหม่ หรือสิ่งที่อาจจะมีขึ้นแล้วแต่ยังไม่ได้รับการยอมรับหรือเผยแพร่เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป หรืออาจจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว  เคยใช้กับบริบทหนึ่งจนได้ผลเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป แต่เมื่อนำไปใช้ในอีกบริบทหนึ่งก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมได้เช่นกัน ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการพัฒนานวัตกรรมคือการสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาใหม่ หรือใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อาจจะเคยใช้ได้ผลกับบริบทอื่นๆ มาใช้กับบริบทใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดกว่าสิ่งที่มีอยู่เดิม หรือปรับปรุงพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้นกว่าเดิม การพัฒนานวัตกรรมการศึกษาจึงมีความสำคัญเพื่อให้กระบวนการจัดการศึกษานั้นมีผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ขององค์กร

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชัยวัฒน์ สุทธ์รัตน์. (2553). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนการรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: เอสอาพริ้นติ้ง.

พระครูปลัดศุภชัย ปริชาโน (ฉัตรคู่). (2562). นวัตกรรมที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านสภาพแวดล้อม สำหรับนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รัตนะ บัวสนธ์ (2564). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สกายบุกส์.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2553). การจัดการความรู้กับนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2550). สุดยอดนวัตกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2553). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

Tucker, A. and Bryan, R.A. (2002). The academic Dean. New York: Macmillan Publishing Company.