การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักธรรมาภิบาลมีความสำคัญต่อการบริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ได้แก่ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการตอบสนอง 2) ค่านิยมประชาธิปไตยได้แก่ ภาระรับผิดชอบ เปิดเผย/โปร่งใส หลักนิติธรรม และความเสมอภาค 3) ประชารัฐ ได้แก่ การมีส่วนร่วม/การพยายามแสวงหาฉันทามติ และการกระจายอำนาจ 4) ความรับผิดชอบทางการบริหาร ได้แก่ คุณธรรม/จริยธรรมผู้บริหารทุกคนต้องเป็นผู้มีความรู้หรือมีศาสตร์ทางการบริหาร และมีความสามารถในการที่จะประยุกต์ศาสตร์เหล่านั้นไปปฏิบัติได้อย่างมีศิลป์ โดยการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จนั้น สถานศึกษาต้องมีกระบวนการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การสู่วัฒนธรรมธรรมาภิบาล 3 ขั้นตอน คือ สร้างวัฒนธรรมองค์การ พัฒนาวัฒนธรรมองค์การ และธำรงรักษาวัฒนธรรมองค์การ ทั้งนี้ต้องมีการพัฒนาผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานตามขอบข่ายของงานบริหารสถานศึกษา และการปฏิบัติตนตามหลักธรรมาภิบาล รวมถึงการที่ผู้บริหารสถานศึกษา ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจึงจะส่งผลให้การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลเป็นฐาน เป็นฟันเฟืองยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกันอย่างมั่นคงตลอดไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ขวัญจิตร บุญยืน. (2551). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ตามหลักธรรมาภิบาล. รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา Theory and Practice in Educational Institution. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.
ฉวีวรรณ โฉมอุทัย. (2552). กระบวนการปฏิบัติงานที่นำไปสู่การได้รับรางวัลธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง. รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิวากร แก้วมณี. (2559). ธรรมาภิบาล Good Governance. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). ผู้บริหารโรงเรียน สามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิผล.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.
สถาบันพระปกเกล้า. (2544). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ปัจจัยที่ทำให้ระบบโรงเรียนประสบความสำเร็จ ข้อมูลพื้นฐานจากโครงการ PISA 2009. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2557). มิติใหม่การบริหารธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ทฤษฎีและงานวิจัย.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.