การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของภาครัฐตามหลักสังคหวัตถุธรรม

Main Article Content

ชลิดา ทรัพยะประภา

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งนำเสนอการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของภาครัฐตามหลักสังคหวัตถุธรรม ทั้งนี้เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สภาพการทำงาน ความท้าทายและการแข่งขันของสภาพเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และมีแนวโน้มว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอีกหลายอย่าง ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนต้องปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมโดยการพัฒนาองค์กรทั้งด้านโครงสร้าง ด้านระบบงาน ด้านเทคโนโลยี และพัฒนาบุคลากรของตนให้มีความสามารถ มีความกระตือรือร้นพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การพัฒนาองค์กรจะต้องดำเนินไปในลักษณะที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ มีเป้าหมายที่ชัดเจน อีกทั้งจำเป็นต้องมีการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรควบคู่กันด้วย ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐให้ความสนใจกับการพัฒนาองค์กรโดยวิธีการจัดการองค์กรสมัยใหม่ คือการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการจัดการความรู้จากทั้งภายในและภายนอกองค์กร จากผลงานวิชาการของบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ หรือความรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติงานของข้าราชการที่เกษียณอายุงานไปแล้ว ทำให้องค์ความรู้เหล่านั้นเกิดการแลกเปลี่ยนถ่ายโอนไปสู่บุคลากรรุ่นใหม่ เพื่อใช้พัฒนาปรับปรุงการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กรเป็นระบบแห่งสังคมแห่งความรู้ หน่วยงานภาครัฐสามารถนำหลักสังคหวัตถุธรรมซึ่งเป็นธรรมแห่งการสงเคราะห์ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจกัน เพื่อความสามัคคีของหมู่คณะ มาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของภาครัฐ จะทำให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จุฑามาศ แก้ววิจิตร และคณะ. (2556). 123 สู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข. นนทบุรี: สองขาครีเอชั่น.

พระครูไพโรจน์กิจจาทร (สกุล สุภทฺโท). (2563). การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 7(2). 1-13.

ภาวิณี เพชรสว่าง. (2552). พฤติกรรมองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ซีวีแอลการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. (2540). วินัย 5 ประการ พื้นฐานองค์กรการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2544). การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: ธีระป้อมวรรณกรรม.

วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์. (2559). การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้: มุมมองเชิงระบบ. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. 12(2). 269-279.

สมยศ นาวีการ. (2543). การบริหารและพฤติกรรมองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ1991.

สัมมา คีตสิน. (2553). ผู้บริหารองค์กรภาครัฐ. แหล่งที่มา http://www.stabun damrong.go.th/ web/book/53/b9_53.pdf. สืบค้นเมื่อ 4 ส.ค. 2565.

สุรัสวดี ราชกุลชัย. (2543). การวางแผนและการควบคุมทางการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จามจุรี.

อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2544). ประมวลบทความนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

George, J.M. & Jones, G.R. (1999). Organizational Behavior. 2nded. Massachusetts: Addison-Wesley.

Goh, S. and Richards, G. (1997). Benchmarking the Learning Capability of Organization. European Management Journal. 15(5). 575-583.

Marquardt, M. J. & Reynolds, A. (1994). The global learning organization. New York: Irwin.

Marquardt, M. J. (1996). Building the learning organization, a systems approach to quantum improvement and global success. New York: McGraw-Hill.

Pedler, M., Burgoyne, J. and Boydell, T. (1991). The Learning Company: A Strategy for Sustainable Development. London: The McGraw-Hill.

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York: Doubleday Currency.