ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษาหลังยุคโควิด (Covid-19)

Main Article Content

พระมหาไพรัช แก้วโก

บทคัดย่อ

บทความทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษาโดยนำหลักมหาสติปัฏฐาน 4 ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้เข้ากับยุคหลังโควิด (Covid-19) โดยมุ่งเน้นที่บทบาทของผู้บริหารโดยการสร้างคุณค่าแก่ตนเองเพื่อแสดงถึงการเป็นตัวอย่างที่ดี การปฏิบัติตนของผู้บริหาร ภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด (Covid-19) อย่างเคร่งครัด เพื่อให้สถานศึกษาเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยจากโรคโควิด (Covid-19) ส่งผลให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพและปลอดภัยจากโรค และส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีผ่านอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะสื่อสารกับนักเรียนที่อยู่บ้านให้มีสภาพการเรียนการสอนที่เหมือนกับในโรงเรียนจริงๆ และผู้บริหารสถานศึกษาต้องมุ่งเน้นการใช้สื่อการสอนที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา (anytime anywhere) โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ควบคู่กับการปฏิบัติจริง (active learning) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วเอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการบริหารที่ดูแลและเยียวยาตนเองตามหลักพุทธศาสนาโดยยึดหลักตามแนวมหาสติปัฏฐานสูตรในพระไตรปิฎกคือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และธรรม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนกวรรณ ปรีดิ์เปรม. (2564). การรู้เท่าทันความคิดตามหลักสติปัฏฐาน 4: เพื่อก้าวผ่านยุค New Normal ไปสู่วิถีในยุคต่อไป. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 4(2).

กรมควบคุมโรค. (2563). ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019. แหล่งที่มา https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/int_protection.php สืบค้นเมื่อ 3 ก.พ. 2563.

กรมสุขภาพจิต. (2563). องค์ความรู้การดูแลสุขภาพใจในสถานการณ์การระบาดโควิด-19. แหล่งที่มา https://www.dmh.go.th/covid19/pnews/files สืบค้นเมื่อ 16 ม.ค. 2565.

จุลศักดิ์ ชาญณรงค์. (2564). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อดูแลสุขภาพในช่วงวิกฤติโควิด-19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. 11(2). 323.

ทัชชกร แสงทองดี. (2561). คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงพุทธ. วารสารวิจัยวิชาการ. 1(3).

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ และอมเรศ กลิ่นบัวแก้ว. (2564). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐไทยในสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19). การบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(8).

ประกริต รัชวัตร์. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษาพยาบาล. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สื่อตะวัน.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัดภัททันตะอาสภาราม. (2565). บทความธรรมะ: จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน. แหล่งที่มา https://www.watbhaddanta.com/ สืบค้นเมื่อ 16 ม.ค. 2565.

ศิริพงษ์ ศรีชัยรมย์รัตน์. (2542). กุญแจสู่ความเป็นเลิศทางการบริหารคน. กรุงเทพมหานคร: เอ อาร์ อินฟอร์เมชั่นแอนด์พับบิเคชั่น.

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน). (2565). Resilient Leadership ถอดบทเรียนผู้นำที่พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงกับการจัดการโควิด-19. แหล่งที่มา https://www.moj.go.th/view/56154 สืบค้นเมื่อ 16 ม.ค. 2565.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และพระมหาสมัย ผาสุโก. (2557). ภาวะผู้นำเชิงพุทธ (Budchist Leadership). มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.