แนวคิดและความเชื่อในการสร้างพระเครื่องจากอดีตสู่ปัจจุบัน

Main Article Content

ศุภสิณี รัตตะคุ
ภัทธิดา แรงทน
พูไทย วันหากิจ

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอแนวคิดและความเชื่อในการสร้างพระเครื่องตั้งแต่เริ่มสร้างในอดีตจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน โดยได้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก เอกสาร ตำรา งานวิจัย และทางสื่อออนไลน์ พบว่า พระเครื่องถือกำเนิดมาจากพระพิมพ์ในประเทศอินเดีย แล้วจึงได้เผยแพร่มายังสุวรรณภูมิ มีการสร้างและสืบทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่นิยมสร้างกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย


จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า แนวคิดและความเชื่อในการสร้างพระเครื่องมีอยู่ 4 ด้านหลัก คือ 1) ยุคแรกสร้างเป็นที่ระลึกในการจาริกแสวงบุญที่สังเวชนียสถานและเป็นการสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 2) ยุคต่อมาเป็นการเผยแพร่และสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา บำเพ็ญกุศลส่วนตนและอุทิศกุศลแก่ผู้อื่น 3) ยุคเกิดภัยพิบัติ ทั้งจากภัยสงคราม โรคร้ายระบาด ความยากจน ชาวบ้านเกิดความทุกข์ทั้งกายและใจ
ต่างแสวงหาที่พึ่ง จึงเกิดแนวคิดการสร้างเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในลักษณะเดียวกับเครื่องรางของขลัง แนวคิดนี้เริ่มมีการปลุกเสก เวทย์มนต์ คาถาอาคม บรรจุลงในพระเครื่อง เพื่อหวังผลทางด้านพุทธคุณ และ 4) ยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่สร้างเพื่อนำไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ เช่น พระของขวัญมอบให้แก่ผู้ที่ช่วยเหลือทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาไว้ระลึกนึกถึงบุญ หรือสร้างไว้สำหรับนำไปสักการะบูชา ถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธา มักจะสร้างจำนวนจำกัด นานวันเข้าจึงกลายเป็นของหายาก นำไปสู่การแสวงหา แลกเปลี่ยน ซื้อขาย พระเครื่องจึงกลายเป็นของสะสมที่มีคุณค่าสูงต่อจิตใจและมูลค่าสูงขึ้นตามกาลเวลา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2564). พระพิมพ์: พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

เกษมสุข ภมรสถิตย์. (2541). พระพุทธรูป หรือรูปแห่งพุทธ. กรุงเทพมหานคร: บ้านมธุระ.

จิตร บัวบุศย์. (2514). ประวัติย่อพระพิมพ์ในประเทศไทย. พระนคร: อำพลพิทยา.

ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี. (2556). ภูมิปัญญาการสร้างพระพุทธรูปเกสรดอกไม้ในล้านนาเพื่อการสร้างสรรค์พระพุทธปฏิมาร่วมสมัย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ธนุตม์ ธรรมพิทักษ์. (2555). พระเครื่องในกองทัพไทยสมัยอยุธยา. วารสารศิลปกรรมสาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 7(1). 21-28.

พระเกรียงไกร สุทฺธมโน. (2553). การศึกษาวิเคราะห์ปัญจอันตรธานในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ภูเก็ต. (2565). พระพิมพ์ดินดิบ. แหล่งที่มา https://finearts.go.th/talangmuseum/view/12009-พระพิมพ์ดินดิบ. สืบค้นเมื่อ 20 มิ.ย. 2565.

ไพศาล ปั้นงาม. (2558). สี่ยอดพระเกจิแห่งสงครามอินโดจีน. แหล่งที่มาhttps://www.komchadluek.net/amulet/216961. สืบค้นเมื่อ 13 ก.ค. 2565.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยอช เซเดส์. (2513). ตำนานพระพิมพ์. พระนคร: รุ่งเรืองธรรม.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2556). มรดก 1,000 ปี เก่าที่สุดในสยาม. กรุงเทพ: มิวเซียมเพลส.

วัลลภ ธรรมบันดาล. (2558). ตำนานพระนางพญา. แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/587815. สืบค้นเมื่อ 15 พ.ค. 2565.

วิเชียร แสนมี. (2559). พัฒนาการในการสร้างพระเครื่องในภาคอีสาน. มนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์. 33(2). 72-88.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2537). พระเครื่องในเมืองสยาม. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2564). ตำนานพระพุทธเจดีย์. กรุงเทพมหานคร: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.

อภินัน จันตะนี. (2559). เศรษฐกิจพระเครื่องเมืองไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(1). 94-105.

Jade Daisy Tran. (2010). Charming the Image of the Buddha: A Brief Look at the Relationship between Birthdays and the Amulet Collecting Tradition in Thailand. Historical Master of Art. The Ohio State University.

Peter A. Jackson. (2016). The Super naturalization of Thai political culture: Thailand’s Magical Stamp of Approval at The Nexus of Media, Marketing and State. Sojourn: Journal of Social Issues in Southeast Asia. 31(3). 826-879.

The metropolitan museum of art, New York. (2022). Plaque: Seated Buddha in a Temple ca. 9th–10th century. แหล่งที่มา https://www.metmuseum.org/art/collection/search/38129. Retrieved Aug 9, 2022.