พุทธวิธีแก้ปัญหาการเมืองในองค์กร : กรณีการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการนำเสนอพุทธวิธีในการแก้ปัญหากระบวนการทางการเมืองในองค์กร ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาอันเป็นกุญแจขับเคลื่อนการจัดการศึกษาไปสู่คุณภาพ ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ 1) แนวคิดเกี่ยวกับการเมืองในองค์กร 3 ระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับหน่วยงาน 2) ทฤษฎีการเมือง ที่เป็นหลักเกณฑ์หรือกฎเกณฑ์สะท้อนพฤติกรรมทางการเมือง 3) ทฤษฎีการเมืองในองค์กร ซึ่งเกี่ยวเนื่องด้วยอำนาจ ได้แก่ อำนาจหน้าที่ อำนาจบังคับ อำนาจในการให้รางวัลหรือลงโทษ อำนาจอ้างอิง และอำนาจในฐานะผู้เชี่ยวชาญ 4) แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่ทำให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ 5) สภาพปัญหาการเมืองในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา 2 ประการ คือ การเมืองภายในสถานศึกษา และการเมืองภายนอกสถานศึกษา 6) พุทธวิธีแก้ปัญหาการเมืองในสถานศึกษา ซึ่งมุ่งแก้ปัญหาเรื่องคน โดยแก้ไขมูลเหตุแห่งความขัดแย้งได้ทั้งทางจิตและทางปัญญา ทั้งภายนอกและภายในตนด้วยสันติวิธี ได้แก่ หลักสังคหวัตถุ 4 และหลักอปริหานิยธรรม 7
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
จรูญ สุภาพ. (2528). ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
จันทร์จิรา บุรีมาศ และอดุล นาคะโร. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชโอกเก็ต. 9(2). 114-115.
จารุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา: กลยุทธ์และแนวทาง การปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.
จิรารัตน์ เขียนรูปครุฑ. (2558). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชรินรัตน์ สีเสมอ และสถาพร มันเต. (2555). สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6(1). 30.
ชวลิต ชูกำแพง. (2559). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร แนวคิดและกระบวนการ: Curriculum Research and Development Concept and Process. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยอนันต์ สมุทวณิ. (2552). รัฐ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายการศึกษา.
ตวงทอง สินชัย และโยธิน นวบุตร. (2563). วิธีการและผลกระทบของการเมืองในองค์กร. วารสารรัชต์ภาคย์. 14(34). 1.
ธีระ รุญเจริญ. (2545). สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
บรรณสิทธิ์ สลับแสง. (2515). เทคนิคการวางแผนและควบคุม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิบูลกิจ.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร: Curriculum Development. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟพริ้น.
ประสิทธิ์ กุลบุญญา. (2557). ความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้งตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 5(1). 18.
ปรัชญา เวสารัชช์ และอรุณ รักธรรม. (2522). อำนาจและอิทธิพลในองค์กร. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 19(4). 517-534.
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2558). พื้นฐานและหลักการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มีน เซอร์วิส ซับพลาย.
พระครูปลัดไพฑูรย์ เมธิโก (มหาบุญ). (2557). อปริหานิยธรรม 7 : สันติภาพสู่สังคมไทย. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 8(2). 78-88.
พระครูสุตพัฒโนดม (วรเมศร์ จารุวณโณ). (2561). การขจัดความขัดแย้งตามแนวโอวาทปาฏิโมกข์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6(1). 370-380.
พระไพศาล วิสาโล. (2554). การไกล่เกลี่ยความขัดแย้งแบบพุทธ. แหล่งที่มา http://www.visalo.org/article/P_karnKlaiKlear.htm. สืบค้นเมื่อ 22 ต.ค. 2563.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2562). หลักคิดการจัดการหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ราชมหาวิทยาลัย.
มนตรี รัตนพันธ์. (2545). การจัดการความขัดแย้งในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตปฏิบัติการที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รังสันต์ โยศรีคุณ. (2556). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
วชิรวัชร งามละม่อม. (2561). การเมืองคืออะไร. แหล่งที่มา http://file.siam2web.com/trdm/article/2013715_36161.pdf. สืบค้นเมื่อ 21 ต.ค. 2562.
วัดไทยนวราชรัตนาราม 960. (2556). พุทธวิธีแก้ความขัดแย้ง : “อริยสัจ 4” สัจธรรมเหนือกาลเวลา. แหล่งที่มา https://th-th.facebook.com/WatThai960/posts/519110368111368/ สืบค้นเมื่อ 22 ต.ค. 2562.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2562). สังคหวัตถุ 4. แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/สังคหวัตถุ_4 สืบค้นเมื่อ 22 ต.ค. 2562.
วินัย ผลเจริญ. (2556). ทฤษฎีสังคมและการเมือง. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมเกียรติ วันทะนะ. (2557). อำนาจของประเทศ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 40(2). 1-18.
สมบัติ จันทรวงศ์. (2527). ตัวบท (The text) กับการเรียนการสอนวิชาปรัชญาการเมือง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุขุม นวลสกุล และโกศล โรจนพันธุ์. (2548). ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2560). การเมืองในองค์กรมีทุกที่...จริงหรือไม่?. แหล่งที่มา https://www.kroobannok.com/20406 สืบค้นเมื่อ 21 ต.ค. 2562.
Richard Kraut. (2010). Socrates and Plato; in the Rutledge Companion to Ethics. John Skorup-ski. London: Routledge.
Robert E. (1970). The Style and SIudy of Political Science. Greenview. Illinois: Scott, Foresman and Company.