กลวิธานเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา

Main Article Content

สุวรรณา สุดปรึก
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
ลำพอง กลมกูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอกลวิธานเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นนักวิชาการด้านพุทธบริหารการศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษา จำนวน 12 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลวิธานเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการบูรณาการหลักสติปัฏฐาน 4 กับกลวิธานการป้องกันตนเองเพื่อรักษาสภาพร่างกาย วาจา และจิตใจให้อยู่ในสภาวะองค์รวมที่สมบูรณ์ โดยมีหลักการและคุณธรรมสำคัญสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา 3 ประการ ประกอบด้วย 1) ต้นแบบที่ดี ผู้บริหารทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นผู้นำสามารถเป็นต้นแบบให้ผู้อื่นได้ทั้งในด้านการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงาน 2) วจีสุจริต ผู้บริหารมีวาทศิลป์ไม่พูดเท็จ สื่อสารด้วยถ้อยคำสุภาพ ไม่ใช้คำพูดส่อเสียด 3) มีจิตสาธารณะ ผู้บริหารมีจิตสำนึกที่ดีในการรู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เติมศักดิ์ คทวณิช. (2547). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นิภา นิธยายน. (2559). การปรับตัวและบุคลิกภาพ จิตวิทยาเพื่อการศึกษาและชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

พระมหาอิสริกานต์ ฐิตปุญฺโญ (ไชยพร). (2557). การพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โมไณย อภิศักดิ์มนตรี. (2557). กลวิธานในการป้องกันตัวของผู้บริหารสถานศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2554). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.