วิธีการส่งเสริมการลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนตามหลักพุทธธรรม

Main Article Content

เปมิกา สุขสำราญ

บทคัดย่อ

วิธีการส่งเสริมการลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนตามหลักพุทธธรรมเป็นการนำข้อปฏิบัติตามแนวพุทธธรรมในการจัดการความรุนแรงในครอบครัว โดยพิจารณาให้ทั่วถึงทั้งในระดับปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคลและสังคมในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง มิติแห่งการป้องกันมิให้เกิดความรุนแรง ทั้งในครั้งแรกที่ยังไม่เคย หรือเมื่อเกิดแล้ว มีวิธีป้องกันมิให้เกิดซ้ำอีกในครั้งต่อๆ ไป มิติแห่งการแก้ไขเมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นแล้วจะทำให้ทุเลาเบาบางลง รวมถึงมิติแห่งการเยียวยาเมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้นแล้ว วิธีการลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนตามหลักพุทธธรรมตามหลักไตรสิกขา 3 ด้าน คือ 1) ศีล คือ ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกกาย วาจา วินัย กฎหมาย ระเบียบ กติกาต่างๆ มีความสามัคคี ลดความขัดแย้งที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท ฝึกความรับผิดชอบในการทำหน้าที่ต่างๆ ผู้ปกครองควรหลีกเลี่ยงการทำโทษด้วยวิธีการที่รุนแรง ควรพูดคุยให้คำปรึกษากับลูก เอาใจใส่ให้ความรัก ไม่ตามใจลูกเกินไป ไม่ควบคุม เคร่งครัดกับลูกมากเกินไป ใช้วิธีการเสริมแรงทางบวกเมื่อลูกประพฤติตนดี 2) สมาธิ คือ เครื่องมือในการทำจิตใจให้หนักแน่นให้รู้จักตนเองมากขึ้น ข่มอารมณ์ความโกรธที่จะนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวต่อไป ครูเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการควบคุมอารมณ์และการจัดการความโกรธ 3) ปัญญา คือ แนวทางที่ใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต โดยครูฝึกให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ ควบคุมการรับชมรายการโทรทัศน์และการเล่นเกมให้เหมาะสม เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจแก้ปัญหาพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ที่จะส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตและนำไปสู่การเลิกพฤติกรรมก้าวร้าวของตนในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2549). พจนานุกรมธรรมของท่านพุทธทาส. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต). (2546). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระมหาทรงวุฒิ ชูพิน, ปีนณ์ฬยาข์ ฒิตสุนทโรทยาน และสุเทพ พรมเลิศ. (2561). การใช้หลักพุทธธรรมเพื่อป้องกันพฤติกรรมอาชญากรรมของเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 7(1). 85-106.

พระมหาศิวะเสน ญาณเมธ. (2561). หลักไตรสิกขาสำหรับการบริหารจัดการการความขัดแย้งเพื่อลดพฤติกรรมความก้าวร้าว. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

พระศักดิ์ดา ฉนฺทโก (สุวรรณทา). (2558). กระบวนการพัฒนาผู้เรียนตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(3). 144-152.

พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ และนิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. (2553). การสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พีร วงศ์อุปราช. (2555). ความชาชินจากการเผชิญความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้: ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงในชุมชน องค์ประกอบทางปัญญา ทางอารมณ์และพฤติกรรมก้าวร้าว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 6(11). 14-36.

พูนสุข มาศรังสรรค์. (2558). การจัดการความรุนแรงในครอบครัวเชิงพุทธบูรณาการ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัตโนทัย พลับรู้การ. (2551). พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก. กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติกพับลิชซิ่ง.

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). เศรษฐกิจแห่งชาติและคณะกรรมการพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

โสมรัสมิ์ จันทรประภา. (2543). การบริหารทางจิตสำหรับเด็กวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

หัสดิน แก้ววิชิต. (2559). พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.