การจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในวิกฤติการณ์โควิด 19

Main Article Content

ปราณี นาคทอง

บทคัดย่อ

การจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในวิกฤติการณ์โควิด 19 เป็นการส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วม คือ ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองนักเรียน เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างถาวรสู่นักเรียน โดยองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพประกอบด้วยการมีวิสัยทัศน์ร่วม ทีมร่วมแรงร่วมใจ ภาวะผู้นำร่วม การเรียนรู้พัฒนาวิชาชีพ ชุมชนกัลยาณมิตร และโครงสร้างสนับสนุนชุมชน ด้วยวิธีการกระชับหลักสูตร เพิ่มความยืดหยุ่นของโครงสร้างเวลาเรียน ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ และสอนอย่างมีแผนที่เหมาะสม ยกระดับการประเมินเพื่อการพัฒนา การประเมินเพื่อรับผิดรับชอบผ่านขั้นตอนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ระบุปัญหา ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ขั้นตอนที่ 3 ระดมความคิด เพื่อนำเสนอวิธีแก้ปัญหา ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้วิธีแก้ปัญหา ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลวิธีการแก้ปัญหา ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างสถานศึกษาและผู้ปกครองด้วยการสื่อสารออนไลน์เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์โควิด 19 อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จุลลี่ ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นพดล สุวรรณสุนทร. (2555). หลักการบริหารงานสมัยใหม่ ประยุกต์ใช้ควบคู่กับหลักพุทธธรรม. สุพรรณบุรี: วิทยาลัยการอาชีพสองพี่น้อง.

บุญชอบ จันทาพูน, สุวดี อุปปินใจ, สมเกียรติ ตุ่นแก้ว และไพรภ รัตนชูวงศ์. (2561). กลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียนเทศบาล 1 ต้นยาง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13(2). 17-27.

ไพผกา ผิวดำ. (2564). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. 3(1). 11-18.

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. แหล่งที่มา https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic/ สืบค้นเมื่อ 31 ม.ค. 2564.

โรงเรียนนาสาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้. สุราษฎร์ธานี: โรงเรียนนาสาร.

วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาพลับลิเคชั่น.

สุรพล ธรรมร่มดี, ทัศนีย์ จันอินทร์ และคงกฤช ไตรยวงค์. (2553). อาศรมศิลป์วิจัย: การวิจัยและพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้แนวจิตตปัญญา. นครปฐม: เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์.