แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 ตามสังคหวัตถุ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 ตามสังคหวัตถุ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 186 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance : ANOVA) และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสมานัตตตา (หลักสูตร) ด้านทาน (กระบวนการเรียนรู้) ด้านอัตถจริยา (งานประกันคุณภาพ) ด้านปิยวาจา (พัฒนาสื่อ) ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ข้าราชการครูและบุคลากร ที่มีต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 โดยรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 ตามสังคหวัตถุ 4 โดยการบริหารงานวิชาการมีความจำเป็นที่จะนำเอาหลักสังคหวัตถุ 4 มาเป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการ ประกอบด้วย (1) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 คือ ทาน (2) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 คือ ปิยวาจา (3) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ข้อที่สาม คือ อัตถจริยา (4) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 คือ ด้านสมานัตตตา ควรนำมาเป็นกรอบแนวทางในการบริหารงานวิชาการเพื่จะพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น สร้างและพัฒนานวัตกรรมที่มีกิจกรรมที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้รับองค์ความรู้ ส่งเสริม พัฒนา และปรับปรุงเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลให้เหมาะสม ผลิตและพัฒนาสื่อนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ที่เน้นทักษะและกระบวนการ และพัฒนา งานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประโยชน์ มีความเป็นกลาง ยุติธรรม รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ และข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ณรงค์ฤทธิ์ ปรีชานุกูล. (2557). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นุกูล เวศสุวรรณ์. (2550). ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของกลุ่มโรงเรียนสติก 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เพียงเพ็ญ เพียรสันเทียะ. (2553). ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอตาพะยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
มยุรี วรวรรณ. (2563). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของ โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โยธิกา เลิศรัตยากุล, พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน, สมศักดิ์ บุญปู่ และกฤษฎา นันทเพ็ชร. (2564). ระบบการส่งเสริมดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษาตามหลักพุทธธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 8(3). 166-179.
รุ่ง แก้วแดง. (2553). การจัดหลักสูตรการศึกษาเพื่อสอนองตอบความต้องการของผู้เรียนและความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 3(3). 15-16.
สุธภา กลุมนุกูล. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
หยาดรุ้ง งอนกิ่ง. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอบ้านบึง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อำภา บุญช่วย. (2552). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.