แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

เบญจวรรณ สอนอาจ
นพพร จันทรนำชู
พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลและแนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตัวอย่างที่ใช้เป็นประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 225 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ระดับลึก จำนวน 5 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
           ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านการจัดการตนเอง ด้านการตัดสินใจ และด้านทักษะการสื่อสาร ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 2) แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 2.1) การเข้าถึงข้อมูล โดยส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูล และสามารถตรวจสอบข้อมูลสุขภาพจากหลายแหล่ง และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ 2.2) ความรู้ความเข้าใจ โดยส่งเสริมความสามารถในการวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวทางการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง 2.3) ทักษะการสื่อสาร โดยส่งเสริมความสามารถในการสนับสนุนผู้อื่นให้ปฏิบัติตามพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง 2.4) การจัดการตนเอง โดยส่งเสริมความสามารถในการทบทวนพฤติกรรมสุขภาพให้เป็นไปตามเป้าหมาย 2.5) การรู้เท่าทันสื่อ โดยส่งเสริมความสามารถในการประเมินสื่อเพื่อเสนอแนะแนวทางพฤติกรรมสุขภาพแก่ผู้อื่น และ 2.6) ทักษะการตัดสินใจ โดยส่งเสริมการวิเคราะห์และตัดสินใจในทางเลือกปฏิบัติตามพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ดังนี้ 1) ควรมีนโยบายในการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีทางสุขภาพ ควรจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ และสร้างเครือข่ายดูแลด้านสุขภาพร่วมมือของทุกภาคส่วน 2) ควรมีการกำหนดโครงสร้างและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในการติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติ
3) ควรสร้างโอกาสเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมจากบุคคลต้นแบบ รวมทั้งจัดกิจกรรมเสริมทักษะการวิเคราะห์และตัดสินใจในการเลือกและลงมือปฏิบัติตามพฤติกรรมที่เหมาะสม


* นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี 11000
** รองศาสตราจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม 73000
*** รองศาสตราจารย์ ดร. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กรุงเทพมหานคร 10160
Corresponding author: Jananyame@gmail.com

Article Details

How to Cite
สอนอาจ เ. ., จันทรนำชู น. ., & เหล่าพวงศักดิ์ พ. . (2023). แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(2), 1–16. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.31 (Original work published 30 ธันวาคม 2022)
บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, สมพร รักความสุข และอรวรรณ ดวงใจ. (2561). ความฉลาดทางสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(1), 1-9.

กฤษณี เกิดศรี และสงวน ลือเกียรติบัณฑิต. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความแตกฉานด้านสุขภาพกับความสามารถในการคุ้มครองตนเองของผู้บริโภคในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ. Thai Journal of Pharmacy Practice, 1(1), 239-248.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563.

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รอบรู้สุขภาพวัยทำงาน. นนทบุรี: บริษัท คิวคัมเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.scribd.com/document/406967113/ 220120180914085828-linkhed-pdf

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564.

จินตนา ตันสุวรรณนนท์. (2561). ปัจจัยการสื่อสารและจิตสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 11(4), 106–117.

ดุสิดา พุทธิไสย และศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว. (2562). การเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของเจนเนอเรชั่นวาย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 124-141.

นพพร จันทรนำชู. (2563). วิธีเชิงปริมาณสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.

ประไพพิศ สิงหเสม, พอเพ็ญ ไกรนรา และวรารัตน์ ทิพย์รัตน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ของผู้สูงอายุ ตำบลหนองตรุด จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(1), 37-51.

พรทิพย์ เย็นจะบก. (2552). ถอดรหัส ลับความคิดเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ : คู่มือ การเรียนรู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ : ออฟเซ็ทครีเอชั่น.

วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์. (2561). อันตรายของฝุ่น PM 2.5. วารสารวิศวกรรมสาร, 71(1), 9–17.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2561). กรรมการสุขภาพแห่งชาติวิตกโรครุมเร้าคนเมือง เร่งยกฟเครื่องยุทธศาสตร์ระบบบริการสุขภาพ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.nationalhealth.or.th/node/2699.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2561). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2562 จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.

Adkins, N.R., & Corus, C. (2009). Health literacy for improved health outcomes: effective capital in the marketplace. Consumer affairs, 43(2), 199-222.

Buckingham, D. (2003). Media Education: Literacy, Learning, and Contemporary Culture. Cambridge, UK: Polity Press.

Edwards, M., Wood, F., Davies, M., & Edwards, A. (2012). The development of health literacy in patients with a long-term health condition: the health literacy pathway model. BMC Public Health, 12(1), 130.

Kean, L. G., Prividera, L.C., Boyce, A., & Curry, T. (2012). Media Use, Media Literacy, and African American Females’ Food Consumption Patterns. Howard Journal of Communication, 23(3), 197 – 214.

Krob, J. L. (2015). The effect of tailored provider-patient communication on oral health literacy levels in adults. A.T. Still University of Health Sciences.

Michael, M., Heather, A., Paulin, A., & Judy, W.-W. (2008). Self-management training in refractory angina. British Medical Journal, 336(7640), 338-339.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078.

Pender, N.J. (1996). Health Promotion in Nursing Practice. (3rd ed.). Connecticut: Appleton & Lange.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L. & Parsons, M.A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. (5th ed.) New Jersey: Pearson Education, Inc.

Porter, J.P. (2005). Media Literacy. Thousand Oaks, CA : SAGE.

Rozier, R. G., Horowitz, A. M., & Podschun, G. (2011). Dentist-patient communication techniques used in the United States: the results of a national survey. The Journal of the American Dental Association, 142(5), 518-530.

World Health Organization. (1998). Health Promotion Glossary. Switzerland: Division of Health Promotion, Education and Communications, Health Education and Health Promotion Unit.