ความเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิตและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำดื่ม ผสมวิตามินของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

Main Article Content

ไลวรรณ เภาแก้ว
กฤษดา เชียรวัฒนสุข

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิต และการรับรู้คุณค่าในน้ำดื่มผสมวิตามินของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และ 2) อิทธิพลของความเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิตและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มผสมวิตามินของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
           ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ในครั้งนี้ ได้แก่ คือ ผู้บริโภคที่เคยดื่มน้ำดื่มผสมวิตามินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 535 ราย ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบสะดวก สถิติพรรณนา ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติสรุปอ้างอิง วิเคราะห์ตัวแบบมิมิค (The analysis of MIMIC model) ด้วยสมการเชิงโครงสร้าง (SEM) เพื่อศึกษาค่าอิทธิพลจาก ความเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิต และการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มผสมวิตามิน ในภาพรวม และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) แต่ละน้ำหนักปัจจัยของแต่ละตัวแปร
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิต พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยสามลำดับแรกที่ได้รับการประเมินได้แก่ ความมั่นใจต่อผู้ผลิตน้ำดื่มในการให้ความสำคัญกับขั้นตอนการผลิต ในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐาน และ ระบบคุณภาพที่กำกับดูแลมาตรฐานอาหาร ส่วน ผลการประเมินการรับรู้คุณค่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยสามลำดับแรกที่ได้รับการประเมินได้แก่ คุณค่าด้านการใช้งาน คุณค่าด้านอารมณ์ และ คุณค่าด้านความรู้ความคิด และ 2) ความเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิตและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มผสมวิตามินในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ประกอบไปด้วย ความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า (β=0.68) คุณค่าด้านการใช้งาน (β=0.67) คุณค่าด้านอารมณ์ (β=0.41)คุณค่าด้านความรู้ความคิด (β=0.29) ความเชื่อมั่นมาตรฐานการผลิต (β=0.20) และคุณค่าด้านที่มีเงื่อนไข (β=0.14) ในขณะที่ คุณค่าด้านสังคมจะไม่มีผลต่อ การตัดสินใจซื้อน้ำดื่มผสมวิตามินในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 90


* คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี 12110
** คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี 12110
Corresponding author: krisada_c@rmutt.ac.th

Article Details

How to Cite
เภาแก้ว ไ. ., & เชียรวัฒนสุข ก. . (2023). ความเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิตและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำดื่ม ผสมวิตามินของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(2), 63–75. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.35 (Original work published 30 ธันวาคม 2022)
บท
บทความวิจัย

References

กณิศา อุปพงศ์ (2563).ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มฟังก์ชั่นนอลประเภทน้ำดื่มเติมวิตามินของผู้บริโภค Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานคร.สารนิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). ธุรกิจด้านการแพทย์ ความงาม -อีคอมเมิร์ซ ครองอันดับ 1 ธุรกิจดาวรุ่งปี 65. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/977702

ชุติมา ชุติเนตร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มเพิ่มคุณค่าเพื่อสุขภาพ. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฐานเศรษฐกิจ. (2563). ยันฮี โดดยิงแชร์ตลาดน้ำดื่มวิตามิน . [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.thansettakij.com/content/

วรัญญา ศักดิ์สิงห์ .(2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผสมวิตามิน วิตอะเดย์. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.(2560). เกาะกระแสสินค้าสุขภาพสร้างโอกาสธุรกิจ. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/HealthyProduct.pdf

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). กระแสรักสุขภาพจากโควิด สร้างโอกาสธุรกิจ SME. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2562 จาก https://kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Pages/Healthtrend_SME.aspx

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2561). ข้อแนะนำประกอบการตรวจประเมินตาม มอก. 17025-2561. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงอุตสาหกรรม.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

International Organization for Standardization. (2004). International Organization for Standardization (ISO)†. The Quality Assurance Journal, 8(3).

Kotler, P., & Keller, K. (2009). Marketing management. (13th ed.). Upper Saddle River, N.J: Pearson.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2000). Consumer behavior. (7th ed.). Upper Saddle. River, N.J Prentice Hall.

Sheth, J. N., Newman, B. I., & Gross, B. L. (1991). Why we buy what we buy: A theory of consumption values. Journal of Business Research, 22(2), 159–170.