การพัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะร่วมสมัยโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมมลายู เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ศิลปะของนักศึกษาศิลปศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะร่วมสมัย 2) พัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะร่วมสมัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยทุนทางวัฒนธรรมมลายูสำหรับนักศึกษาศิลปศึกษา เพื่อให้ได้ผลวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นการพัฒนารูปแบบกิจกรรม เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพจำแนกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 สัมภาษณ์และสังเกตผู้เชี่ยวชาญ โดยมีเครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกต ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบกิจกรรมฯ ทั้ง 2 ระยะ วิเคราะห์ด้วยการจัดกลุ่มข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์ที่ 1 คือ ได้รวบรวมแนวทางพัฒนารูปแบบกิจกรรมจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญมีข้อสรุป ดังนี้ ทุนทางวัฒนธรรมมลายูในการสร้างสรรค์ผลงานควรเรียนรู้จากศิลปะร่วมสมัยในระดับสากล, การศึกษาทุนทางวัฒนธรรมต้องใช้ความสามารถในการคิดและอธิบายแนวคิดก่อนนำมาสร้างสรรค์ผลงาน การเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมมลายู แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่เอื้อยต่อการเรียนรู้ นักศึกษาที่เหมาะสมต่อการทำกิจกรรมมีการผ่านวิชาพื้นฐานมาก่อน และผลการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 2 คือ รูปแบบกิจกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจองค์ความรู้ของศิลปะร่วมสมัยและองค์ความรู้ของทุนทางวัฒนธรรมมลายู และการออกแบบสร้างสรรค์กิจกรรมจนนำไปสู่การนำเสนอต่อสาธารณชน โดยมีรูปแบบการพัฒนากิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสำหรับนักศึกษาศิลปศึกษา 4 กิจกรรม คือ 1) The Melayu Contemporary Art 2) The Melayu Budaya 3) The Melayu Creative Process และ 4) The Melayu Present to the Public รูปแบบกิจกรรมนี้มุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของนักศึกษาศิลปะ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เจตนา นาควัชระ. (2546). ศิลป์ส่องทาง. กรุงเทพมหานคร: คมบาง.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ณายิบ อาแวบือซา. (2564). สถาปัตยกรรมมลายูมุสลิมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง. ใน การสัมมนาวิชาการ “ศิลปะอิสลามในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง”. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา.
พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2556). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 7(1), 1-69.
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2554). ศิลปกรรมร่วมสมัย : การเรียนรู้และสร้างสรรค์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1), 14-20.
สุนิติ จุฑามาศ. (2564). มื่อลมค้านาพานาวาสู่หมู่เกาะ: อิสลามานุวัตรในเอเชียอาคเนย์ในยุคแรกเริ่ม. ใน การสัมมนาวิชาการ “ศิลปะอิสลามในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง”. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลาร่วมกับสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร.
อัญธิชา มั่นคง. (2560). บทบาทของทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 12(39), 90-100.
Bellanca, J. & Brandt, R. (2019). New Future Skills: Education for the 21st Century, Translated from 21st Century Skills Rethinking How Students Learn, Translated by Wongkitrungreung, W and Jittarek, A. Bankok: Open World, 2011.
Chang, R. (2005). Culture and art education in China Education through Art. International Journal of Education Through Art, 1(3), 225-236.
Sternberg, R. J. et al. (2004). Handbook of intelligence. Cambridge: Cambridge University Press.