ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

อารีวรรณ สีชุม
นันทิดา อัมรักษ์
ทัศนียา บัวเพ็ชร
สุภัททา สมบัติสุข
พัชรี เวทยา

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่สนใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็นและเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติ t-test F-test และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อที่แตกต่างกัน ส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้สักที่เลือกซื้อ ที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อ ที่ไม่แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านลักษณะทางกายภาพและการนำเสนอ และด้านกระบวนการให้บริการ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แนวทางพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่สำคัญควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย ราคาสะท้อนถึงความคุ้มค่า ส่งเสริมการตลาดโดยการให้ส่วนลดและของแถม เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

Article Details

How to Cite
สีชุม อ., อัมรักษ์ น. ., บัวเพ็ชร ท. ., สมบัติสุข ส. ., & เวทยา พ. . (2025). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 12(3), 243–254. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/286709
บท
บทความวิจัย

References

ชนิดา โมทอง และทิพย์วรรณา งามศักดิ์. (2560). กลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายเฟอร์นิเจอร์ร้าน ABC ในเขตอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข, 10(2), 115-133.

ณรงค์โพธิ์ พฤกษานันท์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

ไทยโพสต์. (2565). องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ขยายศูนย์จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ - เฟอร์นิเจอร์ไม้สักจากป่าปลูก ภายใต้ชื่อใหม่ "FIO.SHOP" 5 สาขาทั่วประเทศ. เรียกใช้เมื่อ 25 มกราคม 2567 จาก https://www.thaipost.net/public-relations-news/196781/

ธนูทอง ศิริวงศ์ และสินีนาถ เริ่มลาวรรณ. (2567). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 8(1), 114-126.

ธัชปภา ตังสุรัตน์กุล และคณะ. (2565). กลยุทธ์การบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(3), 207- 211.

ธันยพร กวีบริบูรณ์. (2561). ลักษณะทางประชากร แรงจูงใจของผู้บริโภค และพฤติกรรมการใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทพงศ์ พันทวีศักดิ์. (2566). แนวโน้มธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้. เรียกใช้เมื่อ 27 ตุลาคม 2567 จาก https://www.lhbank.co.th/getattachment/dca9fa28-5372-4715-a773-0af278d529c4/economic-analysis-Industry-Outlook-2023-Furniture

พีระพงศ์ เบญจพรกุลนิจ. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ลำไพ แสนบุญเลียง และทรงพร หาญสันติ. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ Built-in 4.0 ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ (ครั้งที่ 19) 8-9 ธันวาคม 2565. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วาสนา มิตรสายชล. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์จากวัสดุยั่งยืน วัสดุรีไซเคิลหรือ เฟอร์นิเจอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. ใน รายงานการวิจัยบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

วีระยา ทองเสือ. (2567). แนวโน้มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์. เรียกใช้เมื่อ 27 ธันวาคม 2567 จาก https://media.settrade.com/settrade/Documents/2024/Dec/20241225-Krungthai-COMPASS-Furniture.pdf

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2567). ศึกษาแนวโน้มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์มองเป็นโอกาสผลักดันอุตสาหกรรมของคนไทย สร้างรายได้เพิ่มให้แก่ประเทศ. เรียกใช้เมื่อ 27 ธันวาคม 2567 จาก https://tpso.go.th/news/2412-0000000059

องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้. (2566). รายงานประจำปี 2566. เรียกใช้เมื่อ 12 มีนาคม 2567 จาก https://www.fio.co.th/fioreport/Aw-FIO-Annual-Report-2024-02-08-67.pdf

อัฐถศาสตร์ ผดุงพันธ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านของกลุ่ม GenY ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดยุคดิจิทัล. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อุตัมซิงห์ จาวาลา และคณะ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), 127-140.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley, Sons.

Cronbach, L. J. (1984). Cronbach’s Alpha Coefficient: Essential of psychology and education. United States of America: Mc-Graw Hill.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2014). Principle of Marketing. (15th ed.). United States of America: Pearson Education.

Kotler, P. & Keller, K. L. (2012). Marketing Management. (14th ed.). London: Pearson Education.

Lovelock, C. & Wright, L. (2007). Principles of service marketing and management. (5th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill.

Porter, M. E. & Kramer, M. R. (2019). Creating shared value. Springer: Dordrecht.