การพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกของลูกค้า B2B และพัฒนารูปแบบปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อซ้ำบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกของลูกค้า B2B เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้จัดซื้อบรรจุภัณฑ์ในภาคอุตสาหกรรม จำนวน 385 คน เลือกแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ (ค่า IOC > 0.50 และค่าความเชื่อมั่น 0.94) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบมีปัจจัยเดียว การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และยืนยันผลด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ในอุตสาหกรรมที่ใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก ผลการวิจัย พบว่า ผลการศึกษาและลำดับความสำคัญของปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกของลูกค้า B2B ได้แก่ 1) ความสามารถในการบริการ 2) ความสอดคล้องกับมาตรฐาน 3) ความต้องการของลูกค้า 4) ความเชื่อถือได้ของผู้ผลิต 5) การสื่อสารทางธุรกิจ 6) ประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์ และ 7) ต้นทุน ตามลำดับ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.76 และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ 0.58 ลำดับความสำคัญของปัจจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าและความสามารถการบริการและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์มีผลต่อการซื้อซ้ำมากที่สุด ส่วนการพัฒนารูปแบบปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อซ้ำบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกของลูกค้า B2B ซึ่งได้พัฒนากลยุทธ์ในห่วงโซ่อุปทานของบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การกระจายสินค้า และการออกแบบกลยุทธ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
รชานนท์ มุกสิขสวัสดิ์. (2567). อุตสาหกรรม “ลูกฟูกไทย” มุ่งสู่ความยั่งยืน สร้างโอกาสเติบโตฐานผลิตใหญ่สุดในอาเซียน. เรียกใช้เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2567 จากhttps://www.thaipackmagazine.com/activity/corrutec/
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2563). บทวิเคราะห์เชิงลึก เรื่อง แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์. เรียกใช้เมื่อ 30 ตุลาคม 2567 จาก https://packaging.oie.go.th/new/admin_control_new/html-demo/file/8630714592.pdf
Boston Consulting Group. (1968). Perspectives on Experience. Boston: The Boston Consulting Group.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.
Garvin, D. A. (1984). What does product quality really mean. Sloan Management Review, 26(1), 25-43.
Garvin, D. A. (1987). Competing on the eight dimensions of quality. Harvard Business Review, 65(6), 101-109.
Hellier, P. K. et al. (2003). Customer repurchase intention: A general structural equation model. European Journal of Marketing, 37(12), 1762-1800.
Hutt, M. D. & Speh, T. W. (2001). Business marketing management, A strategic view of Industrial and Organizational Markets, Thomson/South-Western. Ohio: Cincinnati.
Lauterborn, B. (1990). New marketing Litany; Four ps passé; c-words take over. advertisingage, 61(41), 26-33.
Parasuraman, A. et al. (1988). SERVQUAL: A Multiple-Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 64(1988), 12-40.
Sweeney, J. C. & Soutar, G. N. (2014). Consumer perceived value: The development of a multiple item scale. Journal of Retailing and Consumer Services, 21(3), 390-399.
Zeithaml, V. A. (1988). Consumer perceptions of price, quality, and value: A means-end model and synthesis of evidence. Journal of Marketing, 52(3), 10-22.