เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพจิตในประเทศไทย

Main Article Content

ศศิพร เหลืองไพฑูรย์
ธีระศักดิ์ เครือแสง
ดวงกมล ทองอยู่
มนฤดี ช่วงฉ่ำ
วรรนิสา หนูช่วย

บทคัดย่อ

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของคนในสังคมอย่างต่อเนื่องในหลายภาคส่วน และในงานสุขภาพจิต สหวิชาชีพด้านสุขภาพจิตจำเป็นต้องรู้เท่าทันกับการนำเทคโนโลยีปัญญา ประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานสุขภาพจิตในประเทศไทย แนวโน้มของเทคโนโลยี AI และการสร้างการตระหนักรู้แก่นักจิตวิทยา สหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานสุขภาพจิตให้เรียนรู้ ปรับตัวให้เท่าทันเทคโนโลยี AI เพื่อประโยชน์ในการนำเทคโนโลยี AI ไปใช้พัฒนาองค์ความรู้ ระบบการดูแลผู้รับบริการ การสร้างความร่วมมือระหว่างบุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพจิตและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI จากการศึกษางานวิจัยในประเทศไทยพบการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมด้านสุขภาพจิต 1) โดยส่วนใหญ่นวัตกรรมถูกพัฒนาให้มีความสามารถของ AI ประเภทการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) รูปแบบให้บริการนวัตกรรมเป็นแบบ chatbot แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ website และกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองนำนวัตกรรมไปใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนนักศึกษาและผู้สูงอายุ 2) จุดประสงค์ในการพัฒนานวัตกรรมส่วนใหญ่เพื่อการคัดกรองสุขภาพจิตใจที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ เช่นซึมเศร้า ความเครียด ความวิตกกังวล และมีระบบส่งต่อเพื่อให้ผู้รับบริการพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตต่อไป นวัตกรรมยังไม่สามารถทดแทนการบำบัดรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญได้และยังไม่ได้ใช้เพื่อการวินิจฉัยโรค อย่างไรก็ตามหากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและผู้พัฒนานวัตกรรม จะนำ AI ไปใช้ในงานด้านสุขภาพจิตควรศึกษาถึงผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ควรแจ้งผู้รับบริการล่วงหน้าเกี่ยวกับการทำงาน การประมวลผลของโปรแกรม การเก็บข้อมูลเป็นความลับ การให้สิทธิ์ผู้รับบริการในการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้บริการจากกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ AI หรือไม่ และควรจัดให้มีกระบวนการลงนามในหนังสือแสดงความยินยอม

Article Details

How to Cite
เหลืองไพฑูรย์ ศ. ., เครือแสง ธ. ., ทองอยู่ ด. ., ช่วงฉ่ำ ม. ., & หนูช่วย ว. . (2025). เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพจิตในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 12(3), 210–221. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/286360
บท
บทความวิชาการ

References

กรมสุขภาพจิต. (2566). อนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย พ.ศ. 2576. เรียกใช้เมื่อ 9 ธันวาคม 2567 จาก https://www.nia.or.th/bookshelf/view/237

กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี และคณะ. (2564). ผลของการใช้ “ชูใจ” หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ดูแลผู้สูงอายุที่มีต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ : การศึกษานำร่อง. วารสารกิจการสื่อสารดิจิทัล, 5(5), 380-398.

จินทภา กนกนภากุล. (2566). แนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการป้องกันการฆ่าตัวตาย. วารสารนวัตกรรมสังคม, 7(2), 236-263.

ชนัญญา สร้อยทอง. (2567). การศึกษาแนวทางการใช้แชทบอทเพื่อช่วยลดความเครียดในกลุ่มนักศึกษา. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 18(2),1-14.

ภาณุภณ พสุชัยสกุล และคณะ. (2567). การประเมินภาวะทางอารมณ์ของผู้เรียนในห้องด้วยแอปพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์. Journal of Information and Learning, 35(2), 15-30.

ภาสกร แย้มงาม และคณะ. (2565). ระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับการทำนายสุขภาพทางจิตของผู้ที่ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ โดยสมาคม ECTI, 2(3), 39-48.

ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา. (2564). ปัญญาประดิษฐ์ Artificial intelligence (AI) กับการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และเวชศาสตร์ฉุกเฉิน. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย, 1(1), 91–104.

วรรณวิภา ติตถะสิริ และคณะ. (2567). ต้นแบบระบบอาจารย์ที่ปรึกษาอัจฉริยะ. วารสารศิลปการจัดการ, 8(1), 38-56.

วิมลรัตน์ ชัยปราการ และคณะ. (2566). การพัฒนาแชทบอทสุขภาพจิต (น้องฮักแชทบอท) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงราย. วารสารจิตเวชวิทยาสาร, 39(3), 1-15.

ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์. (2567). แนวทางการประยุกต์ใช้ Generative AI อย่างมีธรรมาภิบาลสำหรับองค์กร. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. เรียกใช้เมื่อ 3 ธันวาคม 2567 จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/GovernanceGuideline_v1.aspx

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2562). AI เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สำหรับการบริหารงานและการบริการภาครัฐ.สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 12 ธันวาคม 2567 จาก https://www.dga.or.th/document-sharing/dga-e-book/79539/

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2566). รายงานประจำปี พ.ศ. 2566 แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 - 2570). เรียกใช้เมื่อ 9 ธันวาคม 2567 จาก https://ai.in.th/wp-content/uploads/2023/08/AI-Thailand-Annual-2023-1.pdf

อารีย์น่าร์ อาแว และภานุวัฒน์ นนท์ตุลา. (2566). ปัญหาทางกฎหมายเรื่องความรับผิดทางเสียหายที่ปัญญา ประดิษฐ์ก่อขึ้น. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 5(1), 31-40.

เอกสิทธ์ วินิจกุล. (2567). ปัญหาทางกฎหมายในเรื่องความรับผิดจากการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในทางการแพทย์. เรียกใช้เมื่อ 12 ธันวาคม 2567 จาก https://www.etda.or.th/getattachment/Our-Service/AIGC/ResearchandRecommendation/02LegalIssuesConcerningLiabilityfromUseofAIinMedicine-Eakacet.pdf.aspx?lang=th-TH

Graham, S. et al. (2019). Artificial Intelligence for Mental Health and Mental Illnesses: An Overview. Current psychiatry reports, 21(11), 116. https://doi.org/10.1007/s11920-019-1094-0

Olawade, D. et al. (2024). Enhancing Mental Health with Artificial Intelligence: Current Trends and Future Prospects. Journal of Medicine Surgery and Public Health, 3(2024), 1-10. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2949916X24000525?via%3Dihub

Popenici, S. A. D. & Kerr, S. (2017). Exploring the impact of artificial intelligence on teaching and learning in higher education. Research and Practice in Technology Enhanced Learning, 12(22), 1-13. https://doi.org/10.1186/s41039-017-0062-8

Rumelhart, D. E. et al. (1986). Learning representations by back-propagating errors. Nature, 323(5), 533-536.

Sheikh, H. et al. (2023). Artificial Intelligence: Definition and Background. เรียกใช้เมื่อ 9 ธันวาคม 2567 จาก https://doi.org/10.1007/978-3-031-21448-6_2

Zucchetti, A. et al. (2024). Artificial intelligence applications in mental health: The state of the art. Italian Journal of Psychiatry, 10(1). https://doi.org/10.36180/2421-4469-2024-5