การวิเคราะห์โครงสร้างภาษาและภาพพจน์ของสำนวนจีนในวรรณกรรม “ซีโหยวจี้”
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างภาษาของสำนวนจีน และเพื่อทำการวิเคราะห์ภาษาภาพพจน์ของสำนวนจีนที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมจีนเรื่อง ซีโหยวจี้ โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ จากสำนวนเฉิงอวี่ที่ปรากฏในวรรณกรรมจีนเรื่อง ซีโหยวจี้ ของอู๋เฉิงเอิน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11 ในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2013 ของสำนักพิมพ์เหรินหมินเหวินเสวีย มีจำนวนทั้งสิ้น 100 ตอน และจำนวนหน้าทั้งหมด 1,162 หน้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) พจนานุกรมจีน - ไทย 2) พจนานุกรมมหาสมุทรแห่งคำศัพท์สำนวนจีน 3) พจนานุกรมสำนวนจีนฉบับใหญ่ และ 4) ตารางความหมายและการจำแนกประเภทโครงสร้างและภาษาภาพพจน์ของสำนวนเฉิงอวี่ที่ปรากฏในซีโหยวจี้ สถิติที่ใช้ในการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ และการวิเคราะห์เอกสารด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างทางภาษาของสำนวนเฉิงอวี่ที่ปรากฏในซีโหยวจี้ จำนวนทั้งสิ้น 653 สำนวน พบว่า โครงสร้างของสำนวนเฉิงอวี่ในวรรณกรรมจีน เรื่อง ซีโหยวจี้ สามารถจำแนกออกเป็น 6 ประเภท โดยประเภทที่พบมากที่สุด คือ โครงสร้างแบบคู่ขนาน(联合式) พบจำนวนทั้งสิ้น 394 สำนวน คิดเป็นร้อยละ 60.34 รองลงมา คือ โครงสร้างแบบประธาน-ภาคแสดง(主谓式) พบจำนวนทั้งสิ้น 102 สำนวน หรือคิดเป็นร้อยละ 15.62 ในส่วนของภาษาภาพพจน์ของสำนวนจีนที่ปรากฏอยู่ในซีโหยวจี้ที่พบมากที่สุด คือ การใช้ถ้อยคำคู่(对偶) มีจำนวน 238 สำนวน คิดเป็นร้อยละ 36.45% ของจำนวนสำนวนทั้งหมด รองลงมา คือ อุปมาอุปไมย(比喻) มีจำนวน 217 สำนวน คิดเป็นร้อยละ 33.23%
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยาณี กฤตโตปการกิต. (2562). กลวิธีทางวาทศาสตร์ในคำขวัญสิ่งแวดล้อมภาษาจีน. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 8(2), 64-99.
ฐิติชญา อัครเดชเรืองศรี. (2562). การศึกษาการใช้คำอุปมาอุปไมยในนวนิยายเรื่อง อันนา คาเรนินา ของเลียฟ ตัลสตอย. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัสเซียศึกษา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2564). พจนานุกรมจีน - ไทย ฉบับใหม่. กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น.
ปานดวงใจ บุญจนาวิโรจน์. (2565). การสำรวจโครงสร้างสำนวนจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน. วารสารอักษราพิบูล, 3(2), 1-18.
ปิยธิดา สังสีแก้ว. (2565). ศึกษาเนื้อหาของสำนวนภาษาจีนที่สะท้อนวัฒนธรรมจีนที่ใช้ในการจัดการเรียนการ สอนรายวิชาสำนวนและสุภาษิตจีนของหลักสูตรภาษาจีนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมนุษย์และสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ, 7(1), 36-51.
พาสนินทร์ วงศ์วุฒิสาโรช. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนใน ซีโหยวจี้ กับฉบับแปลภาษาไทย ไซอิ๋ว. ใน วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิริยา สุรขจร. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีทางวาทศาสตร์เชิงอุปมาของสำนวนจีนทางพุทธศาสนากับสำนวนไทยที่มีความหมายใกล้เคียงกัน. วารสารจีนศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 8(2), 36-73.
รัฐพร ปานมณี. (2567). การศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนไวยากรณ์ประโยค“把”(bǎ) ของผู้เรียนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC). e-Journal of Education Studies, Burapha University, 6(2), 92-105.
วนิดา ตั้งเทียนชัย. (2550). สำนวนจีน: โครงสร้างทางภาษาและเจตนาการใช้. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สิริวรรณพิชา ธนจิราวัฒน์. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบภาพสะท้อนทางวัฒนธรรมผ่านสำนวนไทย จีน อังกฤษ. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์. (2564). การปะทะสังสรรค์ของคติขงจื๊อ เต๋า พุทธในตัวละครหงอคงในวรรณกรรมไซอิ๋ว. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(2), 159-168.
Editorial Committee of Zhonghua Chengyu Cihai. (2016). Zhonghua chengyu cihai. Changsha: Hunan Education Press.
Wang, Q. (2004). Hanyu shuyu lun. Jinan: Shandong Education Press.
Wang, Y. (2014). A Study of Chinese Idioms in Xi You Ji. Journal of Verbal Learning and Verbal Behavior, 18(2), 523-534.
Wu, C. (2013). Journey to the West. (11th ed.). Beijing: People's Literature Publishing House.
Zhang, J. (2013). Research on eco-friendly slogans. Journal of Neurolinguistics, 26(1), 89-112.
Zheng, W. & Zhou, Q. (2021). Zhonghua chengyu da cidian. (2nd ed.). Beijing: The Commercial Press International Co., Ltd.