การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้ชุดฝึกทักษะประกอบการใช้สื่อออนไลน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าไท

Main Article Content

รัชนีกร เย็นใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน เรื่อง เศษส่วน โดยใช้ชุดฝึกทักษะประกอบการใช้สื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าไท 2) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์เรื่อง เศษส่วน โดยใช้ชุดฝึกทักษะประกอบการใช้สื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าไท และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะประกอบการใช้สื่อออนไลน์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าไท วิจัยเชิงทดลองนี้มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าไท ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 11 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน จำนวน 10 แผน ระยะเวลา 10 ชั่วโมง 2) ชุดฝึกทักษะประกอบการใช้สื่อออนไลน์ เรื่อง เศษส่วน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะประกอบการใช้สื่อออนไลน์ เรื่อง เศษส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน โดยใช้ชุดฝึกทักษะประกอบการใช้สื่อออนไลน์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกทักษะประกอบการใช้สื่อออนไลน์ เรื่อง เศษส่วน อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เย็นใจ ร. . (2025). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้ชุดฝึกทักษะประกอบการใช้สื่อออนไลน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าไท. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 12(2), 127–138. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/285234
บท
บทความวิจัย

References

จตุพล ดวงจิตร. (2564). การประยุกต์ใช้การสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(3), 1-10.

ชนาภา จีนคร้าม และสุวิมล สพฤกษ์ศรี. (2567). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการคิดเลขแบบอินเดีย (เวทคณิต). วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 16(2), 36-50.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2547). หลักการสอนทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัทรวมสาส์น (1977) จำกัด.

ธิติพัฒน์ คุ้มตา และทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2567). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนผ่านการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการฝึกฝนทักษะสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3. ศูนย์วิทยาศาสตร์และการศึกษาแห่งแคนาดา, 14(2), 109-115.

นัชชา สุขศรี และคณะ. (2564). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเมือง 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Team Pair Solo. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศ์, 6(2), 221-238.

เบญจวรรณ ศรีวะลม และคณะ. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหาร เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 37(1), 111-120.

มาริษา สุจิตวนิช และดวงใจ คงคาหลวง. (2563). แนวทางการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มเจเนอเรชันเน็ต. วารสารร้อยแก่นสาร, 5(2), 152-166.

วารุณี เพียรประกอบ. (2556). ผลสัมฤทธิ์และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง เศษส่วน ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. วารสารบัณฑิตวิจัย, 5(1), 65-78.

วีรวัฒน์ เลิศประสาน. (2555). การพัฒนาชุดการเรียน เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.