การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา (Problem Solving Process) และเทคนิค KWDL เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ เรื่องแสงเชิงรังสีและแสงเชิงคลื่น รหัส ว30203 วิชาฟิสิกส์ 3 (รายวิชาเพิ่มเติม) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา 2) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมฯ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) หาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมฯ ให้มีค่าดัชนีประสิทธิผลตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน 5) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการก่อนและหลังเรียนของนักเรียน 6) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ชั้น ม.5 ห้อง 4 จำนวน 35 คน ปีการศึกษา 2567 ภาคเรียนที่ 1 ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความสอดคล้องของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมฯ ประกอบด้วย คำแนะนำการใช้สำหรับครูและนักเรียน ขั้นตอนการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน ใบกิจกรรม ใบความรู้ แบบฝึกหัด บรรณานุกรมและเฉลยที่พัฒนาขึ้น 10 ชุด มีความสอดคล้องโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.95 2) ชุดกิจกรรมฯ มีประสิทธิภาพ E1/E2 มีค่าเท่ากับ 83.07/81.24 3) ชุดกิจกรรมฯ มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.74 4) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 6) ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
จักรพันธ์ แซ่โค้ว. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (7E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. Journal of MCU Nakhondhat, 8(2), 423-440.
จิรัชญา เนื่องชมภู. (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน เรื่อง การเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์องนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(2), 171-186.
ชินภัทร ภูมิรัตน. (2555). การศึกษากับความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
ซาวียะห์ สาเหาะ. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสง โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ทรรศน์พร อ่อนประทุม. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 11(2), 98-111.
ธนัชพร อุทธา. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงาน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพนาศึกษา. วารสารสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, 4(1), 55-72.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พัชรินทร์ ศรีพล. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอน โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พุทธิพร สายสงเคราะห์. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5 ขั้น) เรื่อง เซลล์และกระบวนการดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), 25-35.
มนตรี มณีวงษ์. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ ตามแนวการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) (Learning Cycle) เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสังคมมหาวิทยาลัยพิษณุโลก, 2(1), 74-89.
สารสนเทศฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี. (2565). สารสนเทศฝ่ายวิชาการ. สุราษฎร์ธานี: เอกสารฝ่ายวิชาการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี.
สุจันทร์ญา อุปแก้ว. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Journal of MCU Nakhondhat, 8(8), 191-209.
สุทธิพงษ์ พงษ์วร. (2552). จุดประกายให้รอบรู้: การเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับการนำมาใช้ในการดำรงชีวิต. นิตยสาร สสวท, 38(163), 7-10.
Joyce, B. & Weil, M. (2009). Model of Teaching. (8th ed.). New York: Courtesy of Reece Galleries, Inc.
Karsli, F. & Ayas, A. (2014). Developing a Laboratory Activity by Using 5e Learning Model on Student Learning of Factors Affecting the Reaction Rate and Improving Scientific Process Skills. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 143(1), 663-668.