ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง ตามตัวแปรเพศ วุฒิการศึกษา วิทยฐานะ ประสบการณ์ทำงาน ขนาดของโรงเรียน เพศของผู้บริหาร และวิทยฐานะของผู้บริหาร 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุงการศึกษาวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง จำนวน 269 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .60 - 1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาทั้งฉบับ เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธี LSD และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน ตามการรับรู้ของครู โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับดีทุกด้าน 2) ครูที่มีเพศ วุฒิการศึกษา วิทยฐานะ ประสบการณ์การทำงาน และปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่ผู้บริหารมีเพศต่างกัน มีการรับรู้ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดของโรงเรียนและผู้บริหารที่วิทยฐานะต่างกัน มีการรับรู้ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .01 ตามลำดับ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้บริหารบางส่วนขาดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และไม่เห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยี ผู้บริหารจึงควรพัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีให้มีความชำนาญ สนับสนุน ส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนา และจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กวินท์ บินสะอาด. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัญญาภัค ใยดี. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(1), 150-164.
ชัยนาม บุญนิตย์. (2563). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
นิคม นาคอ้าย. (2557). องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นาเชิงอิเล็กทรอนิกส์และปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภัทรนันต์ หีตหนู. (2566). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียน ในอำเภอป่าพะยอม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.
มูฮำหมัดรุซลัน ลือบากะลูติง. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัย หาดใหญ่.
ลัคนา ใจดี. (2562). ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.
Gwaltney, R. A. (2014). A Model Management Information System for an Institution of Higher Education. In Dissertation Abstract International, 43(5), 1367-1379.
Krejcie, R. V. & D. W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.