การถอดบทเรียนชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

พิมลรัตน์ ชื่นบาน
ยุทธนา แยบคาย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ จังหวัดสุโขทัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ภาคีเครือข่ายที่มีการดำเนินงานชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุในจังหวัดสุโขทัย จำนวน 3 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน รวมจำนวน 15 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบกรณีหลากหลาย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบการสนทนากลุ่ม เครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายรูปหรือสมาร์ทโฟน และสมุดจดบันทึก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า การถอดบทเรียนชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุจังหวัดสุโขทัย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) รูปแบบชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ จังหวัดสุโขทัย ประกอบด้วย สาระสำคัญ 11 องค์ประกอบ ได้แก่ อาคารสถานที่และบริเวณภายนอก ระบบขนส่งและยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม การให้ความเคารพและการยอมรับ การมีส่วนร่วมในฐานะพลเมืองและการจ้างงาน การสื่อสารและการให้ข้อมูล การบริการชุมชนและการบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางจิตใจการบูรณาการความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ และการพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ และ 2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ได้แก่ การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่ายจิตอาสา การจัดการต้นทุนทรัพยากรเพื่อความยั่งยืน บทบาทของผู้บริหารที่เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนา การพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่ความสำเร็จและการยอมรับ การพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสามารนำรูปแบบและปัจจัยไปพัฒนาชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุได้ตามบริบทของพื้นที่

Article Details

How to Cite
ชื่นบาน พ. ., & แยบคาย ย. . (2024). การถอดบทเรียนชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ จังหวัดสุโขทัย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(12), 258–269. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/283977
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์.

จิราพร วรวงศ์ และคณะ. (2563). การพัฒนาชุมชนเป็นมิตรกับผู้สูงอายุ: โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ อุดรธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(2), 150-163.

ณัฐติกาญจน์ สุวรรณเทพ และคณะ. (2567). การพัฒนารูปแบบชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 4. วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี, 12(2), 36-52.

ทัศนีย์ ปัทมสนธิ์ และคณะ. (2564). ความต้องการและความคาดหวังของชุมชนเกี่ยวกับเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(7), 204-218.

นาฏสินี ชัยแก้ว และมยุรี บุญทัด. (2567). การพัฒนารูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในเขตสุขภาพที่ 3. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 18(1), 366-379.

เบญจมาศ เมืองเกษม. (2564). รูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในเขตตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 239-254.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

วรายุส ปานนิมิตจิตสมาน และคณะ. (2566). การจัดการเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร: การมีส่วนร่วม คือ หัวใจ เส้นชัย คือ ผู้สูงอายุ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 13(1), 104-116.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. (2566). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. (2566). คู่มือการดำเนินงานชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุและผู้พิการ (Age-friendly communities) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

Miles, M. B. & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook. (2nd ed.). California: Thousand Oaks, California: Sage.

World Health Organization. (2007). Global age-friendly cities: A guide. Switzerland: World Health Organization.