การรับรู้และการจัดการควบคุมการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Main Article Content

ไพลิน นุกูลกิจ
อนุสรา มั่นศิลป์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาระดับการรับรู้ต่อโรคโควิดใช้กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ 2) ศึกษาระดับการจัดการควบคุมโรคตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของระดับการรับรู้รายด้านกับระดับการจัดการภาพรวม โดยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 108 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการรับรู้ต่อโรคโควิด 19 3) แบบสอบถามการจัดการ ค่าความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามเท่ากับ = 0.67 - 1.00, 0.70 - 0.85, 0.75 - 0.82 และนำไปทดลองใช้กับผู้ที่มีคุณลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 ราย นำมาคำนวณหาความเชื่อมั่น โดยใช้สถิติ Conbrach Alpha Coefficiency ได้ค่า = 0.76, 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้รายด้านกับระดับการจัดการภาพรวมด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการรับรู้ความรุนแรงของโรคและโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคในระดับมาก การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคในการป้องกันโรค ระดับน้อย การจัดการเพื่อควบคุมโรคภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางพบความสัมพันธ์เชิงบวกที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระหว่างการรับรู้รายด้านและการจัดการภาพรวม ดังนี้ 1) การรับรู้ต่อความรุนแรงของโรค (r = .592) 2) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค (r = .507) 3) การรับรู้ประโยชน์ต่อการป้องกันโรค (r = .228) 4) การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรค (r = .205) ควรสนับสนุนให้หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการรับรู้ด้านประโยชน์และอุปสรรคต่อการป้องกันโรคเพิ่มมากขึ้น

Article Details

How to Cite
นุกูลกิจ ไ. ., & มั่นศิลป์ อ. . (2024). การรับรู้และการจัดการควบคุมการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(12), 301–311. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/283733
บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2564). นักวิจัยอิสราเอลพบ ภาวะขาดวิตามินดี เอี่ยวป่วยโควิด - 19 รุนแรง. เรียกใช้เมื่อ 27 ธันวาคม 2566 จาก https://dmh.go.th/newsdmh/view.asp?id=30893

เชาวลิต เลื่อนลอย. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด 19 ของประชาชน อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุข และสุขภาพศึกษา, 2(1),18-33.

ปิยะนันท์ เรือนคำ และคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรผู้ใหญ่: กรณีศึกษาเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), 247-259.

พิมสิริ ภู่ศิริ และคณะ. (2565). การติดเชื้อโควิด 19 ในเด็ก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท, 4(1),1-13.

มินลา นาคหนุน และคณะ. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 18(4), 101-108.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด19 ของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(2), 323-337.

วิภา บัวสนิท และ ศากุน บุญอิต. (2563). การรับรู้ความเสี่ยง การสื่อสารและพฤติกรรมการป้องกันตนเองระหว่างเกิดโรคโควิด 19. เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2567 จาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:184288

ศูนย์จีโนมฯ รพ.รามาธิบดี. (2566). ให้คำตอบ “เราควรยุติการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อป้องกันโควิด - 19 กัน แล้วหรือไม่”. เรียกใช้เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.thairath.co.th/news/society/2704430

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. (2562). โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต. เรียกใช้เมื่อ 29 กันยายน 2564 จาก http://www.dusitcenter.org/schools/?code=19827&region=central&prov=ปทุมธานี

สุภาภรณ์ วงธิ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด 19 ของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. ใน วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อภิวดี อินทเจริญ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 19-30.

อารี ชีวเกษมสุข. (2560). สมรรถนะผู้นำทางการพยาบาล แนวคิดและการพัฒนา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยระบบเปิดสุโขทัยธรรมาธิราช.

เอกชัย เพียรศรีวัชรา. (2565). กรมอนามัยเผย “เด็กปฐมวัยป่วยโควิดแล้วกว่า 1 แสนราย สาเหตุจากติดเชื้อในครอบครัว”. เรียกใช้เมื่อ 17 ธันวาคม 2566 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/2323395

Becker, M. H. (1974). The Health Belief Model and Sick Role Behavior. Health Education Monographs, 2(4), 409-419.

National Statistical Office Thailand. (2022). Thailand Multiple Indicator Cluster Survey 2019, Survey Findings Report. Retrieved December 2023, 17, from https://www.unicef.org/thailand/media/5146/file/Multiple%20Indicator%20Cluster%20Survey%202019.pdf#page=178

World Health Organization. (2021). COVID-19 in children and adolescents: Scientific brief. Retrieved December 2023, 17, from https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-Sci_Brief-Children_and_adolescents-2021.1