ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี สำหรับการเปลี่ยนผ่านองค์การสู่ยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำเร็จขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีสำหรับการเปลี่ยนผ่านองค์การสู่ยุคดิจิทัล อยู่ในระดับใด และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีสำหรับการเปลี่ยนผ่านองค์การสู่ยุคดิจิทัล โดยทำการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของ ยามาเน่ ในการศึกษาครั้งนี้เป็นบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 146 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ อย่างเป็นสัดส่วนตามสัดส่วนขนาดของกลุ่มประชากรโดยแยกประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อย ๆ หรือแบ่งชั้นภูมิโดยมี 5 ชั้นภูมิแต่ละชั้นภูมิจะมีลักษณะเหมือนกัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์ ความถดถอยแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำเร็จขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีสำหรับการเปลี่ยนผ่านองค์การสู่ยุคดิจิทัล มีผลการวิจัย อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีสำหรับ การเปลี่ยนผ่านองค์การสู่ยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบทบาทผู้นำ 2) ด้านวัฒนธรรมองค์การ 3) ด้านการเตรียมบุคลากรรับการเปลี่ยนแปลงสู่องค์การดิจิทัล 4) ด้านความพร้อมของทรัพยากร ปัจจัยด้านที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ ด้านการเตรียมบุคลากรรับการเปลี่ยนแปลงสู่องค์การดิจิทัล รองลงมา คือ ด้านความพร้อมของทรัพยากร และด้านบทบาทผู้นำ ตามลำดับ ส่วนด้านวัฒนธรรมองค์การไม่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีสำหรับการเปลี่ยนผ่านองค์การสู่ยุคดิจิทัล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2566). แผนปฏิบัติการดิจิทัล กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 5 ปี พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับทบทวน). เรียกใช้เมื่อ 14 มีนาคม 2567 จาก https://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2022/1/18833_22251.pdf
โกศล จิตวิรัตน์. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงสู่องค์การดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 ในศตวรรษที่ 21. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 12(6), 1796-1816.
ชาลินี บุญยะศัพท์. (2556). ความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารงานของบุคลากรในเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล. (2563). Digital Transformation Canvas โมเดลทรานส์ฟอร์มธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตครั้งใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิชบุ๊ค.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพค์รั้งที่10). กรุงเทพมหานคร: บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด.
ปนิตา อภิสราโชติ. (2562). ความพร้อมของบุคลากรสำนักคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมในการเข้าสู่ศาลดิจิทัล (D-Court 2020). ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ศศิวิมล มณีวงษ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านองค์กรในยุคดิจิทัล. ใน รายงานการวิจัย. วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศิริเกษม ศิริลักษณ์และจิติมา วรรณศรี. (2564). แนวทางการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในยุคดิจิทัล คณะศึกษาศาสตร์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 1192-1202.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2562). Digital transformation กับ Digital worker และ Digital workforce. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2567 จาก https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/dx-digital-worker-work/
อนิรุทธ์ ตุลสุข. (2563). VUCA World โลกใบใหม่ที่ไร้ทิศทางชัดเจน. เรียกใช้เมื่อ 21 มีนาคม 2567 จาก https://www.coachforgoal.com/blog/topic/vuca-world-โลกใบใหม่ที่ไร้ทิศทางชัดเจน