ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพรมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพรมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี 2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพรมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จำแนกตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล 3) ศึกษาปัจจัยลักษณะงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพรมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี 4) ศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพรมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรทั้งหมดของ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพรมบุรี จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟ ค่าที วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และทดสอบสมมติฐานโดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพรมบุรี อยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพรมบุรี ไม่แตกต่างกันทุกปัจจัย 3) ปัจจัยลักษณะงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพรมบุรี อยู่ในระดับมาก และส่งผลทางบวกต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพรมบุรี โดยมีค่า R Square เท่ากับ .432 4) ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพรมบุรี อยู่ในระดับมาก และส่งผลทางบวกต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพรมบุรี โดยมีค่า R Square เท่ากับ .538
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คัมภีร์ ทองพูน และคณะ. (2563). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ (ครั้งที่ 11) 17 กรกฎาคม 2563. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร. กรุงเทพมหานคร: โฟกัสมีเดีย แอนด์พับลิชชิ่ง.
เจษฎา นกน้อย. (2560). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภัสสร พรหมเขียว. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดกระบี่. ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.
ปรารถนา หลีกภัย. (2563). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรภาครัฐในจังหวัดตรัง. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(3), 132-146.
พัชรา สุสิงสา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. เรียกใช้เมื่อ 25 สิงหาคม 2567 จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-5-14_1599638635.pdf
รมิตา ประวัติ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศรีธนา บุญเศรษฐ์. (2560). ประมวลสาระชุดวิชา เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 14 การสร้างความผูกพันของพนักงาน. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี. (2566). ข้อมูลพื้นฐาน: อำเภอพรหมบุรี. เรียกใช้เมื่อ 25 สิงหาคม 2567 จาก https://www.singburi.go.th/_2017/amphur_content/cate/5
หนึ่งฤทัย สร้อยยอดทอง และโชติ บดีรัฐ. (2564). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Modern Learning Development, 6(3), 150-163.
อารยา นาคัน. (2563). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. เรียกใช้เมื่อ 25 สิงหาคม 2567 จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2563-5-8_1630036716.pdf
Porter, L. W. et al. (1974). Organizational commitment job statisfaction and turnover among psychiatric technjcjans. Journal of Applied Psychology, 59(5), 603-609.