การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการใช้เครื่องหมายวรรคตอนภาษาอังกฤษใน งานเขียนความเรียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการใช้เครื่องหมายวรรคตอนในงานเขียนความเรียงของนักศึกษา 2) วิเคราะห์ประเภทของข้อผิดพลาดในการใช้เครื่องหมายวรรคตอนในงานเขียนความเรียงของนักศึกษา และ 3) หาแนวทางพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษและการใช้เครื่องหมายวรรคตอนให้แก่นักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 21 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยเก็บข้อมูลจากงานเขียนความเรียงในหัวข้อ “เป้าหมายของฉัน (My Goal) และนำมาวิเคราะห์ข้อผิดพลาดเรื่องการใช้เครื่องหมายวรรคตอน 11 ประเภท ผลการศึกษาค้น พบว่า มีข้อผิดพลาดในการใช้เครื่องหมายวรรคตอนจำนวนรวมทั้งสิ้น 109 จุด โดยข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดอันดับที่หนึ่ง คือ เครื่องหมายจุลภาค (Comma) อันดับที่สอง คือ เครื่องหมายมหัพภาค (Period/Full stop) และอันดับที่สาม คือ เครื่องหมายอัฒภาค (Semicolon) จากข้อผิดพลาดที่พบ ผู้วิจัยได้ให้แนวทางในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษโดยเฉพาะทักษะการเขียน ว่าควรเพิ่มเนื้อหาในการเรียนการสอนเรื่องอิทธิพลของภาษาที่หนึ่งต่อการเรียนรู้ภาษาที่สอง และความแตกต่างของภาษาไทยและภาษาอังกฤษเข้าไปในช่วงแรกของการเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ เนื่องจากภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน จึงทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนและไม่คุ้นชิน รวมทั้งผู้สอนอาจเพิ่มแบบฝึกหัดให้ผู้เรียน การจัดอบรมเพิ่มเติม เน้นย้ำในการเรียนการสอนเรื่องกลไกการเขียน ซึ่งเครื่องหมายวรรคตอนเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และได้ฝึกฝนการเขียนมากยิ่งขึ้น เพื่อลดข้อผิดพลาดในงานเขียนหรือไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดเลย อันจะนำไปสู่การสื่อสารที่ถูกต้องชัดเจน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
กัลยกร เสริมสุข และคณะ. (2562). การส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขข้อผิดพลาดในประโยคภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้เกม. ใน รายงานการวิจัย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2567). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2567. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
จรัสวัฒน์ ไตรรัตน์. (2553). หลักการเขียนและการใช้ภาษาในหนังสือราชการภาษาอังกฤษ. เรียกใช้เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.stou.ac.th/schools/sla/b.a.english/oce/Pages/part2.html
ธนาภัสสร์ สนธิรักษ์ และคณะ. (2563). การสำรวจความผิดพลาดทางไวยากรณ์ในการเขียนย่อหน้าภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ศศ.บ.ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 37-49.
ธันนิกานต์ ชยันตราคม. (2557). ปัญหาการเขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของนักศึกษาไทยในระดับอุดมศึกษา. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติSMARTS ครั้งที่ 4 (หน้า 2-12). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประทีป รุ่งตรานนท์. (2517). การศึกษาข้อบกพร่องในการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิทยาลัยครู ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษามหาบัณฑิต. วิทยาลัยวิชาการศึกษา.
ปิยวรรณ รุ่งวรพงศ์. (2557). ปัญหาการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตตรัง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 119-126.
พิชญ์สินี ขาวอุไร. (2546). การศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษานักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ สถาบันราชภัฏนครปฐม. วารสารภาษาปริทัศน์, 20(1), 137-156.
ภราดร สุขพันธ์. (2561). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษกับความเป็นบัณฑิตในยุคปัจจุบัน. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 2(2), 89-100.
ลักษมี นวมถนอม คีมูระ. (2565). รายวิชา 14421 การเขียนภาษาอังกฤษ 2 (English Writing 2) STOU Media. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เรียกใช้เมื่อ 18 กันยายน 2567 จาก https://www.stou.ac.th/schools/sla/englishwriting/cd-rom/Module6/Index6.htm
สุคนธา ฟูสุวรรณ. (2562). การศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Arquiola, J. M. et al. (2022). Punctuations Used by Filipino and Thai Students in their Essays: A Corpus-Based Inquiry. International Journal of Research Publication and Reviews, 3(12), 766-773.
Khumphee, S. & Yodkamlue, B. (2017). Grammatical Errors on English Essays Written by Thai EFL Undergraduate Students. Journal of Education, Mahasarakham University, 11(4), 139-154.
Nordquist, R. (2023). The Mechanics of Writing Composition. Retrieved September 28, 2024, from https://www.thoughtco.com/mechanics-composition-term-1691304