ความพึงพอใจของศิษย์เก่าที่มีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของศิษย์เก่าที่มีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ศิษย์เก่าที่มีรหัสนักศึกษาแรกเข้าปีการศึกษา 2560 จนถึงปีการศึกษา 2563 จำนวน 140 คน โดยใช้วิธีการเลือกอย่างเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบออนไลน์ แบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เนื้อหาของแบบประเมินประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจของศิษย์เก่าที่มีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากลภายใต้ประเด็นย่อยจำนวน 3 ประเด็นคือ ด้านหลักสูตร(เฉพาะรายวิชาเฉพาะ) ด้านกระบวนการเรียนการสอนและด้านการนำความรู้ไปใช้กับการทำงาน และส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะ เป็นข้อคำถามแบบปลายเปิด กลุ่มตัวอย่างตอบกลับแบบสอบถาม จำนวน 115 ชุด คิดเป็นร้อยละ 82.14 สถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 80.64 ( = 4.03, S.D. = 0.92) และเมื่อพิจารณารายประเด็น พบว่า ความพึงพอใจด้านกระบวนการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 81.43 (
= 4.07, S.D. = 0.86) รองลงมา คือ ด้านหลักสูตร(เฉพาะรายวิชาเฉพาะ) อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 80.28 (
= 4.01, S.D. = 0.90) และด้านการนำความรู้ไปใช้กับการทำงาน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 80.21 (
= 4.01, S.D. = 0.99) ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม. (2567). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2567. เรียกใช้เมื่อ 26 กันยายน 2567 จาก https://www.ops.go.th/th/ches-downloads/edu-standard/item/9625-2567
กระแส ชนะวงศ์ และคณะ. (2560). การวิจัยเพื่อพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรสารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการจัดการสุขภาพ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 7(ฉบับพิเศษ), 150-159.
เกษมะณี การินทร์ และคณะ. (2558). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2567). แบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิตเกี่ยวกับหลักสูตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ป.ตรี). เรียกใช้เมื่อ 26 กันยายน 2567 จาก https://science.swu.ac.th/Default.aspx?tabid=10239&ArtMID=22002&ArticleID=21452&language=th-TH
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2560). แบบประเมินความพึงพอใจนักศึกษาปีสุดท้าย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2560. เรียกใช้เมื่อ 26 กันยายน 2567 จาก https://docs.google.com/document/d/1R2hiWf-EO31uk08e61ZyxZcM48O4YBZf/edit?rtrtp=true
ทศพล ป้อมสุวรรณ และคณะ. (2567). ตลาดแรงงานยุคใหม่ ทักษะภาษาอังกฤษต้องการสูงสุด. เรียกใช้เมื่อ 26 กันยายน 2567 จาก https://policywatch.thaipbs.or.th/article/economy-57
ธีรนันท์ ตันพานิชย์ และคณะ. (2567). การศึกษาความคาดหวังและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 8(1), 40-54.
นฤมล คำปัญญา. (2561). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อคุณภาพของหลักสูตร สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ประชัน คะเนวัน และธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ. (2560). ความคิดเห็นของศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 2(2), 59-68.
สายใจ ทันการ และคณะ. (2563). ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(1), 38-46.
อนวัช มีเคลือบ และคณะ. (2560). การจัดการการสื่อสารเพื่อพัฒนาความผูกพันศิษย์เก่า ของมหาวิทยาลัยรัฐในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 12(1), 163-177.
อุทุมพร ไวฉลาด และวันทนีย์ โพธิ์กลาง. (2557). ศึกษาความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 1(2), 55-75.
Gaier, S. (2005). Alumni Satisfaction with Their Undergraduate Academic Experience and the Impact on Alumni Giving and Participation. International Journal of Educational Advancement, 5(4), 279-288.
Jamari, M. (2021). The effect of bottom profile dimples on the femoral head on wear in metal-on-metal total hip arthroplasty. Journal of functional biomaterials, 12(2), 38. https://doi.org/10.3390/jfb12020038.