การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงออกแบบและโครงงานเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

เบญจวรรณ เรืองศรี
กรวรรณ สืบสม
นพรัตน์ หมีพลัด

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงออกแบบและโครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงออกแบบและโครงงานเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงออกแบบและโครงงานเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคลองไม้แดง จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ t-test แบบ one sample t-test ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนรู้บนฐานกระบวนการคิดเชิงออกแบบและโครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การสร้างความเข้าใจและสร้างสรรค์ ขั้นที่ 2 การสะท้อนความคิดและขั้นที่ 3 การเผยแพร่ชิ้นงาน ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบ หลังเรียน (equation = 25.77, S.D. = 1.33) สูงกว่าก่อนเรียน (equation = 22.03, S.D. = 1.13) และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินทักษะการแก้ปัญหาอยู่ในระดับดีเยี่ยม และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้บนฐานกระบวนการคิดเชิงออกแบบและโครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระดับมากที่สุด (equation = 4.50, S.D. = 0.51)

Article Details

How to Cite
เรืองศรี เ. ., สืบสม ก. ., & หมีพลัด น. . (2024). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงออกแบบและโครงงานเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(12), 237–248. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/283157
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564 . กรุงเทพมหานคร: อักษรไทย (น.ส.พ.ฟ้าเมืองไทย).

ดนุพล สืบสำราญและอาภัสรา เพียงตา. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องการแยกสาร โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 86-98.

ดุษฎี โยเหลาและคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อ สร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสําเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธ.

ปวริศร ภูมิสูง. (2564). การพัฒนาการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสตีมศึกษา. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 12(3), 204-215.

มานิตย์ อาษานอก. (2561). การบูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 1(1), 6-12 .

ฤทธิไกร ไชยงาม. (2562). มาตรวัดเจตคติแบบลิเคิร์ท (Likert rating scales). เรียกใช้เมื่อ 6 ธันวาคม 2567 จาก https://www.gotoknow.org/posts/659229

ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2015-cps-summary/

สายชล สุกร. (2562). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องพอลิเมอร์. วารสารศึกษาศาสตร์, 30(2), 166-181.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Kathryn Boddie. (2023). Polya's Problem Solving Process. Retrieved january 5, 2024, from https://study.com/academy/lesson/polyas-four-step-problem-solving-process.html