ลักษณะบุคลิกภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ตามแบบอีพีพีเอส

Main Article Content

พีร์นิธิ สิริธีรธราดล
ศรีสุดา บุญยิ้ม
สุภาวดี วงศ์ธรรมมา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะบุคลิกภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัย อัสสัมชัญตามแบบวัดอีพีพีเอส 2) เปรียบเทียบบุคลิกภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จำแนกตามเพศ และชั้นปี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ปีการศึกษา 2562 - 2566 โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดบุคลิกภาพ EPPS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ Independent t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีบุคลิกภาพที่เด่นตามแบบวัด EPPS คือ ด้านความต้องการเข้าใจตนเองและผู้อื่น (equation = 19.09) รองลงมา คือ ด้านความอดทน (equation = 17.67) และด้านความต้องการช่วยเหลือผู้อื่นหรือความเมตตากรุณา (equation = 17.41) ตามลำดับ ส่วนบุคลิกภาพที่ไม่เด่น ได้แก่ ด้านความต้องการคบเพื่อนต่างเพศ (equation = 7.70) ด้านความต้องการเป็นผู้ตาม (equation = 10.41) และด้านความก้าวร้าว (equation = 10.72) 2) นักศึกษาหญิงมีบุคลิกภาพด้านความต้องการเป็นระเบียบสูงกว่าผู้ชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (t = -2.019, p = 0.044 < 0.05) โดยผู้หญิงมีคะแนนความต้องการเป็นระเบียบสูงกว่าผู้ชาย 3) นักศึกษาชั้นปีต่างกันมีบุคลิกภาพด้านความต้องการสัมฤทธิ์ผล ด้านความต้องการเข้าใจตนเองและผู้อื่นและด้านความก้าวร้าว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีความต้องการสัมฤทธิ์ผลมากกว่าชั้นปีที่ 2 ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ 3 มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นมากกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 และด้านความก้าวร้าวนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีความก้าวร้าวสูงกว่าชั้นปีอื่น ๆ

Article Details

How to Cite
สิริธีรธราดล พ. ., บุญยิ้ม ศ. ., & วงศ์ธรรมมา ส. . (2024). ลักษณะบุคลิกภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ตามแบบอีพีพีเอส. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(12), 226–236. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/282958
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

ขวัญฤดี ขำซ่อนสัตย์. (2542). การศึกษาพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดวงฤดี ช่วยขำ. (2540). ทัศนคติต่อการจัดการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญญาภา แจ้งสี. (2544). การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่มีผลต่อความผูกพันใกล้ชิด การเห็นคุณค่าในตนเอง และการยอมรับตนเองของนักศึกษาที่มีพฤติกรรมเสี่ยงและไม่เสี่ยงของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ . มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุปผา การีเวท. (2527). สภาพแวดล้อมสังคมกลุ่มเพื่อนในทัศนะของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรรณราย ทรัพยะประภา และคณะ. (2539). ประเภทของแบบทดสอบจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พวงเพชร วัชรอยู่. (2537). แรงจูงใจในการทำงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา และคณะ. (2527). นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา . ใน รายงานการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2558). จิตวิทยาบุคลิกภาพร่วมสมัยและจิตบำบัด. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2561). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

ศูนย์สนเทศแนะแนวอาชีพและให้คำปรึกษา. (2566). รายงานแผน 5 ปี (2562 - 2566). ฝ่ายกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เอแบคดิจิทัลเพรส.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2551 - 2565 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานนโยบายแผน และการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เอแบคดิจิทัลเพรส.

สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา. (2563). กรอบแนวทางการดำเนินการตามมาตรฐานกิจการนักศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ซีโน พับลิชชิ่ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง.

Alwisol, A. (2007). Personality Psychology. Malang: University of Muhammadiyah Malang Press.

David, T. et al. (1998). Personality and Vocational Behavior: A Selective Review of the Literature, 1993 - 1997. Journal of Vocational Behavior, 53(1), 115-153.

Edwards, A. (1959). Manual, Edwards Personal Preference Schedule. New York: The Psychological Corporation.

Maltby, J. et al. (2013). An introduction to psychometric testing. In Personality, individual differences, and intelligence. London: Pearson Education.

Murray, H. (1938). Explorations in Personality. New York: Oxford University Press.

Solesa, D. et al. (2015). Students’ Potential for Authentic leadership. Interdisciplinary Management Research, 11(1), 149-158.