ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ของหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามคู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา 1) การประเมินคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามคู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามคู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยเก็บข้อมูลในกลุ่มหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ทั้งในสังกัดและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 313 แห่ง และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 ที่มี 8 ด้าน คะแนนเต็ม 272 คะแนน และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการถดถอยโลจิสติก เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การประเมินคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิ มีหน่วยบริการที่ผ่านการประเมิน จำนวน 297 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 94.90 คะแนนรวมเฉลี่ย คือ 246.18 คะแนน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามคู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 จังหวัดเชียงใหม่ คือ ที่ตั้งของหน่วยบริการ และสังกัดของหน่วยบริการ เป็น 45.438 เท่า (95% CI 5.074, 406.896), 4.076 เท่า (95% CI 1.035, 16.054) และ 0.179 เท่า (95% CI 0.048, 0.660) สรุปผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามคู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 จังหวัดเชียงใหม่มีความสัมพันธ์กับที่ตั้งหน่วยบริการ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2566). แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2566. เรียกใช้เมื่อ 8 มิถุนายน 2567 จาก https://spd.moph.go.th/government-action-plan-66-70/
ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล. (2562). การบริการสุขภาพปฐมภูมิของประเทศไทยในบริบทสุขภาพโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(1), 1-11.
เรียม นมรักษ์ และพรทิพย์ จอกกระจาย. (2557). การเข้าถึงบริการสุขภาพด้านการรักษาของผู้สูงอายุในชุมชน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.
สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมการศึกษา: 2. (25 สิงหาคม 2567). ด้านระบบสารสนเทศ. (สาคร ไชยอำมาตย์, ผู้สัมภาษณ์)
สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมการศึกษา: 8. (26 สิงหาคม 2567). ด้านระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ. (สาคร ไชยอำมาตย์, ผู้สัมภาษณ์)
สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมการศึกษา: 9. (26 สิงหาคม 2567). ด้านระบบการจัดการ. (สาคร ไชยอำมาตย์, ผู้สัมภาษณ์)
สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมการศึกษา: 11. (26 สิงหาคม 2567). ด้านสถานที่ตั้งหน่วยบริการ อาคาร สถานที่ และสิ่งแวดล้อม. (สาคร ไชยอำมาตย์, ผู้สัมภาษณ์)
สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมการศึกษา: 26. (7 กันยายน 2567). ด้านการจัดการบุคลากรและศักยภาพการให้บริการ. (สาคร ไชยอำมาตย์, ผู้สัมภาษณ์)
สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมการศึกษา: 27. (7 กันยายน 2567). ด้านระบบห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์ และสาธารณสุข. (สาคร ไชยอำมาตย์, ผู้สัมภาษณ์)
สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมการศึกษา: 33. (12 กันยายน 2567). ด้านการจัดบริการเภสัชกรรมและงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คบส.). (สาคร ไชยอำมาตย์, ผู้สัมภาษณ์)
สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมการศึกษา: 40. (12 กันยายน 2567). ด้านระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ. (สาคร ไชยอำมาตย์, ผู้สัมภาษณ์)
สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ 2566. เรียกใช้เมื่อ 8 มิถุนายน 2567 จาก https://www.uckkpho.com/download/3685/
Homloey, S. (2022). Factors affecting the development and hospital accreditation in the Ministry of Public Health in Hospital Phetchaburi Province. The Academic and Nursing Journal of Boromarajonani College of Nursing, 2(2), 23-42.
Khongyuen, N. (2017). Primary care service system with development standards. Public Health & Health Laws Journal, 3(3), 1-14.
Koocharaenprasit, S. & Siriwanarangsun, P. (2019). Primary Care Service System in Urban Setting: A case Study in Bangkok Area, B.E. 2560. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand, 8(2), 1-9.
Mongkhonsuebsakul, W. (2022). Thailand's Access to Healthcare Services: The reflection and inequality of Vulnerable Group. SAU journal of social sciences & humanities, 6(1), 55-66.
Sirilapyanon, D. (2023). Evaluation Research of the Performance of Development of Starred Tambon Health Promoting Hospitals, Yala Province. Thailand journal of health promotion and environmental health, 46(1), 80-91.
Somphet, K. et al. (2022). Readiness to organize primary health care services in Thailand. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 7(11), 300-315.